ศึกษาวิเคราะห์ปัญจุปาทานขันธ์ในพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

จ่าสิบเอกอนุชิต กิ่งนรา
พระประเวช สุเวที
สำราญ ศรีคำมูล

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาอุปาทานในพระพุทธปรัชญาเถรวาท  และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญจุปาทานขันธ์ในพุทธปรัชญาเถรวาท งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา รวมทั้งตำราและเอกสารจากแหล่งๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัญจุปาทานขันธ์ คือ ยึดมั่นใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ปัญจุปาทานขันธ์จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดอุปาทานขันธ์ คือ การยึดมั่นถือมั่นทางจิตใจ เช่น ยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ คือ ร่างกาย และจิตใจรวมกันว่าเป็น "ตัวตน" และยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ถูกใจ อันมาเกี่ยวข้องด้วยว่าเป็น "ของตน" หรือที่ละเอียดลงไปกว่านั้น ก็คือยึดถือจิตส่วนหนึ่งว่าเป็น "ตัวเรา" แล้วยึดถือเอารูปร่างกาย ความรู้สึก ความจำ และความนึกคิด 4 อย่างนี้ว่าเป็น "ของเรา"

2. จากการศึกษาอุปาทานขันธ์ในพุทธปรัชญาเถรวาทตามลำดับตั้งแต่ต้นมาแล้วนั้น สามารถสรุปได้ว่าหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาว่าด้วยเรื่องอุปาทาน เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเพื่อให้เห็นว่าอุปาทานขันธ์ 5 คือ กองแห่งทุกข์ทั้งปวง ทรงตรัสให้เห็นความเป็นจริงของชีวิตไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 เพราะเมื่อยังมีอุปาทานคือ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 อยู่ ก็ย่อมจะมองไม่เห็นสังขารทั้งหลายตามความเป็นจริง ก่อให้เกิดทุกข์มากมายทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และเข้าอุบายวิธีในการรู้อุปาทานอย่างสมบูรณ์และถูกต้อง ย่อมจะนำตนให้พ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ด้วยอุปาทาน จึงตั้งอยู่ในความไม่ประมาทจนเกิดความเบื่อหนน่ายคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งหลาย มีจิตบริสุทธิ์หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสจนเข้าถึงพระนิพพาน

Article Details

บท
บทความวิจัย