ศึกษาเปรียบเทียบคำสอนเรื่องพละ 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาทและพุทธปรัชญามหายาน

Main Article Content

พระสุเทพ สิริธมฺโม มัจฉา
กฤตสุชิน พลเสน
พระประเวช สุเวที

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องพละ 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาท             2) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องพละ 5 ในพุทธปรัชญามหายาน 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคำสอนเรื่องพละ 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาทและพุทธปรัชญามหายาน  โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียง บรรยาย ตรวจสอบ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. จากการศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับพละ5 ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท สรุปได้ว่าขอบเขตและความหมายของหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง ที่สนับสนุนพละ 5 ซึ่งเรียกว่า “โพธิปักขิยธรรม” ได้แก่ ธรรมที่เกื้อกูลให้เกิดการรู้แจ้ง หรือธรรมที่สนับสนุนอริยมรรคมี 37 ประการ ได้แก่สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4  อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8

  2. หลักธรรมพละ 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นหลักธรรมที่คอยเกื้อหนุนและเป็นหลักธรรมพื้นฐานแห่งหลักธรรมอื่นอันละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง อันเป็นหนทางแห่งปฏิปทา เป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นจากกองทุกข์ เป็นหนทางแห่งการไม่มีแล้วซึ่งภพ ชาติ ชรา มรณะ หลุดพ้นแล้วจากวัฏฏะสงสาร ในส่วนพุทธปรัชญามหายานก็มีแนวความคิดที่คล้ายกัน คือพละ 5 เป็นหลักธรรมมูลรากต่อการพัฒนาชีวิตที่ดีงาม ในด้านของรูปธรรม วิริยพละเป็นกำลังของไตรสิกขา ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการพัฒนามนุษย์ การฝึกฝนและการพัฒนาชีวิตที่นำพุทธภาวนามาใช้นั้น ได้นำหลักการของศีล สมาธิ ปัญญา มาใช้สอนและอบรม

Article Details

บท
บทความวิจัย