การศึกษาสภาพการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ในโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระครูวิศิษฐธรรโมทัย
จำรูญ พริกบุญจันทร์
พระประเสริฐ เตชโก
ประมวล ริมี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับสภาพการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน จำแนกตามชั้นและอายุ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 แผนกสายศิลป์ภาษา โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 42 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : ANOVA)


            ผลการศึกษาพบว่า


  1. การศึกษาระดับสภาพการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนในโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.77 และ S.D.= 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการฟัง (= 3.82 และ S.D.= 0.44) ด้านอ่าน (= 3.82 และ S.D. = 0.55) ด้านพูด (= 3.73 และ S.D. = 0.54 ) และด้านเขียน (= 3.72 และ S.D. = 0.65) ตามลำดับ

  2. การเปรียบเทียบระดับสภาพการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน จำแนกตามชั้นและอายุ พบว่า ผลเปรียบเทียบระดับสภาพการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน จำแนกตามตามระดับชั้น ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน (ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ) ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และจำแนกตามอายุ ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้


  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า นักเรียนไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เพราะเขาทั้งหลายขาดความรู้ด้านคำศัพท์และความหมายของคำเหล่านั้น เขาจึงไม่สามารถเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและไม่สามารถเรียนตามชั้นได้ ข้อแนะนำสำหรับครูก็คือ ครูควรจะใช้เทคนิคการสอนซ่อมเสริมและทำบทเรียนให้ง่าย ๆ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีเสริมเพื่อจะให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



Article Details

บท
บทความวิจัย