การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชุด เตรียมน้องเรียนคณิต บทความวิจัย

Main Article Content

นภสร สุขเลิศกิจ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชุด เตรียมน้องเรียนคณิต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชุด เตรียมน้องเรียนคณิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ห้อง 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เก้าต้น จังหวัดลพบุรี ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชุด เตรียมน้องเรียนคณิต ประกอบด้วยชุดกิจกรรม จำนวน 8 ชุด 2) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชุด เตรียมน้องเรียนคณิต 3) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test Dependent


ผลการศึกษาพบว่า 


  1. ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชุด เตรียมน้องเรียนคณิต มีประสิทธิภาพจากการทดลองภาคสนาม เท่ากับ 84.13/83.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

  2. ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์โดยชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชุด เตรียมน้องเรียนคณิต เท่ากับ 8.38 คะแนน ซึ่งสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64 คะแนน สรุปได้ว่า เด็กมีคะแนนจากการประเมินทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์หลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชุด เตรียมน้องเรียนคณิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญภรณ์ คุณาคม. (2561). รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์พาเพลินเพื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3. สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). คณิตศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เครือวัลย์ โพธิ์แท่น. (2560). รายงานการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3. โรงเรียนอนุบาลวังดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำพูน เขต 2.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2550). ชุดการสอน. [Online]. Available : http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page10007.asp. [2563, เมษายน 1].

ซาลีนา กะลูแป. (2558). รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยเน้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเขาตูม จังหวัดปัตตานี.สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประจักษ์ อเนกฤทธิ์มงคล. (2560). การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วรินธร สิริเดช. (2550). การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิริมณี บรรจง. (2555). เด็กปฐมวัยกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.