ความทุกข์ของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมและผลกระทบของการติดเกมออนไลน์ของเด็กในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

สุไรยา หนิเร่
สุวรรณี หลังปูเต๊ะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความทุกข์ของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมและผลกระทบของการติดเกมออนไลน์ของเด็กในช่วงสถานการณ์การแพร่รระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และการให้ความหมายต่อพฤติกรรมของลูกต่อพฤติกรรมและผลกระทบของการติดเกมออนไลน์ ตลอดจนศึกษาชีวิต ความคิด และความทุกข์ของผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมและผลกระทบของการติดเกมออนไลน์ของลูก


ผลการวิจัยพบว่า


1. ความทุกข์ของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมและผลกระทบของการติดเกมออนไลน์ของเด็กในช่วงสถานการณ์การแพร่รระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากมองในแง่ของการรับรู้และการให้ความหมายต่อพฤติกรรมของลูกต่อพฤติกรรมและผลกระทบของการติดเกมออนไลน์ พบว่า ครอบครัวทราบและรับรู้ถึงพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เด็กมีพฤติกรรมการติดเกมเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงที่สถานการณ์ปกติ คือ ช่วงที่มีการจัดการเรียนรู้แบบ On-Site สำหรับ พฤติกรรมที่พบและบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของการติดเกมออนไลน์ คือ การพูดจาหยาบคาย ตะคอกใส่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง และบางกรณีถึงขั้นพูด “มึง-กู” กับคนในครอบครัว ไม่สนใจการเรียน ไม่รับฟังผู้ใหญ่ เมื่อผู้ปกครองห้ามจะมีอารมณ์รุนแรง ชักสีหน้าไม่พอใจ บางกรณี เริ่มจากเล่น 1 ชม. เพิ่มเป็น 2 ชม. จากนั้นก็เปลี่ยนไปเล่นเกือบทั้งวัน    สิ่งที่เป็นข้อบ่งชี้ถึงปัจจัยที่นำไปสู่การติดเกมออนไลน์ คือ การมีเวลาว่างมากเกินไป การเล่นและอยู่กับโทรศัพท์มากเกินไป อีกทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันของคนในครอบครัวน้อยเกินไป ผู้ปกครองขาดวินัยในการใช้โทรศัพท์ของลูก ๆ


2. สำหรับสภาพชีวิต ความคิด ความทุกข์หลักของพ่อแม่ หรือผู้ปกครองกรณีที่ลูกมีพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ผ่านมา สะท้อนความกลัว และห่วงกังวล ที่พบว่า ลูกมีพฤติกรรมชอบนอนดึก ใช้งานไม่ได้และไม่ฟัง กลัวลูกจะซึมเศร้าผิดปกติ ลูกไม่สนใจเรียน ไม่ตั้งใจเรียน กลัวลูกจะมีพฤติกรรมที่ไม่ดี คือ แสดงออกไปในทางรุนแรงก้าวร้าวหยาบคาย บางกรณีผู้ปกครอง (แม่) ก็เเอบร้องไห้อยู่บ่อยครั้ง เพราะพฤติกรรมบางอย่างของลูก โดยเฉพาะคำพูดของลูก รวมถึงประเด็นสุขภาพของลูก เพราะลูกแทบไม่ได้นอนเลยในบางกรณี ที่สำคัญกังวลว่าท้ายที่สุดลูกจะเรียนไม่จบในรายที่ลูกติดเกมเอามากๆ วิธีการของคนในครอบครัวที่ทำให้ผู้ปกครองมีความผ่อนคลายความทุกข์ คือ ผู้ปกครอง มีการพูดคุยและให้ลูกช่วยทำกิจกรรมด้วยกัน เช่น งานบ้าน ปลูกต้นไม้ ทำอาหารด้วยกัน ทำกิจกรรมในสวน เช้า-เย็น เล่นเกมไปพร้อม ๆ กับลูก การสร้างข้อตกลงร่วมกัน อยู่กับลูกให้มากขึ้น พาไปผ่อนคลาย ไม่เล่นมือถือต่อหน้าลูก เรียกทานข้าวด้วยกัน มอบหมายให้ช่วยทำงานบ้านกับแม่มากขึ้น เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา. (2563). ข้อเสนอเชิงนโยบายเร่งด่วนว่าด้วยการบริหารจัดกาศึกษาเอกชน ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) ที่เหมาะสมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ชาญวิทย์ พรนภดล และเอษรา วสุพันธ์ธจิต. (2558). จิตเวช ศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไทยพีบีเอส. (2562). สัญญาณเตือน "เด็กติดเกม" แนะรักษาก่อนสาย. [Online]. Available : https://www.thaipbs.or.th/news/content/285367. [2022, November 20]. นพวรรณ ศรีวงศ์พานิช. เด็กติดเกม. [Online]. Available : https://www.princsuvarnabhumi.com/content- เด็กติดเกม/. [2022, November 23].

บริษัทชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) จำกัด. (2546, กันยายน 2). วัยทวีนส์” เด็กไทยพันธุ์ใหม่ เสพติดแบรนด์-กินจั๊งฟู๊ด-สังคมบนเน็ต. มติชน, 17.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. (2554). โครงการศึกษาเชิงปฏิบัติการเรื่องเกม ร้านเกม การเล่นเกม และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการดูแลเด็กและเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. [Online]. Available : https://deepsouthwatch.org/th/node/1652. [2023, February 15].

สุภาวดี เจริญวานิช. (2557). พฤติกรรมการติดเกม : ผลกระทบและการป้องกัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22 (6) ฉบับพิเศษ, 871-879.

องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : หจก. สามลดา.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2543). รายงานการวิจัยการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School) ประสบการณ์ของนานาประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ.

Cassell, E. J. (1999). Diagnosis suffering : A perspective. Annals of Internal Medicine, 131, 531-534.

Cassell, E. J., & Rich, B.A. (2010). Intractable end-of-life suffering and the ethics of palliative sedation. Pain Medicine, 11 (3), 435-438.

Chapman, C. R., & Gavin, J. (1999). Suffering : The contributions of persistent pain. Lancet, 353 (917), 2233-2237.

Elsayed, W. (2021). Covid-19 pandemic and its impact on increasing the risks of children’s Addiction to electronic games from a social work perspective. Heliyon, 7, 1-16.

Healthy Gamer. (2556). บทวิเคราะห์ งานวิจัยสถานการณ์ เด็กติดเกม. [Online]. Available :

https://www.healthygamer.net/manage/uploads/bthwiekhraaahsthaankaaredktidekm_2556.pdf. [2023, February 20].

Krikorian A., Limonero JT, Mate J. (2012). Suffering and distress at the end of life.Psychology-Oncology, 21, 799-808.

Morse, J. M. (2001). The praxis theory of suffering. In J.B. Butts, & K.L. Rich (Eds.), Philosophies and theories for advance nursing practice. (p.569-602). London : Jones & Bartlett Learning, LLC.

Ponte P. R. (1992). Distress in cancer patients and primary nurses’ empathy skills. Cancer Nursing, 15 (4), 289-92.

Rawiwan Khamngoen. (2018). A causal model of suffering in parents of children with cancer. Philosophy of Doctor Dissertation in Nursing Science, Burapha University.

Ratini, M. (2021). Is Video Game Addiction Real?. [Online]. Available : https://www.webmd.com/mental-health/addiction/video-game-addic. [2022, November 20].

Wright L. M. (2005). Spirituality, Suffering, and Illness : Ideal for Healing. Philadelphia : F.A. Davis Company.

Wright, L. M. (2017). Suffering and spirituality : the part of illness healing.

Calgary : 4th floor press.