การพัฒนาทักษะทางการเรียนวิทยาการคำนวณโดยใช้ชุดกิจกรรมเกมสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Main Article Content

นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมเกมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะทางการเรียนวิทยาการคำนวณของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ตามเกณฑ์ 80/80และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางการเรียนวิทยาการคำนวณของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมเกมสร้างสรรค์กับการเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 ห้องเรียน โดยการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน รวม 108 คน สำหรับให้เป็นห้องทดลองหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเกมสร้างสรรค์ 1 ห้องเรียน ห้องทดลองการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมเกมสร้างสรรค์ 1 ห้องเรียน และห้องควบคุม ซึ่งสอนโดยใช้วิธีการสอนปกติ 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมเกมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาการคำนวณ แบบฝึกทักษะทางการเรียนวิทยาการคำนวณ มีค่าดัชนีของความสอดคล้องของคำถามกับวัตถุประสงค์ได้ค่าเท่ากับ 1 ทุกข้อ และแบบทดสอบทักษะทางการเรียนวิทยาการคำนวณของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า


1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเกมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะทางการเรียนวิทยาการคำนวณของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.01/90.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80


2) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่ได้รับการเรียนการสอนโดยชุดกิจกรรมเกมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะทางการเรียนวิทยาการคำนวณ มีทักษะทางการเรียนวิทยาการคำนวณสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ศรีสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาฐานความรู้ สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ช่วงชั้นที่ 4. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ (2560). การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ของนิสิตระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19 (3), 16-33.

ภวิกา เลาหไพฑูรย์ และกมล โพธิเย็น. (2561). การสอนโดยใช้เกมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและเลข 3 หลัก ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14 (2), 155-170.

สรพงค์ สุขเกษม. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Academic Affairs Office, Rajathanee University. (2014). A good practice guide to teaching techniques in higher education. [Online]. Available : http://assu.rtu.ac.th/pdf/Good Practices in Teaching Techniques in Higher Education.pdf. [2566, มีนาคม 1].