คุณภาพห้องเรียนชายขอบ : โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการนำมาวางแผนและตัดสินใจดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง คือ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาในโรงเรียนชายขอบหรือโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ครูมีความรู้ที่เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ มีเจตคติเชิงบวกต่อการจัดการเรียนการสอนในพื้นที่ห่างไกลและมีความสามารถ สนับสนุนความเป็นไปได้ภายในระบบการจัดการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด การสนับสนุนผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมที่ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและลดความแตกต่างระหว่างภูมิหลังและประสบการณ์ การจัดการชั้นเรียนแบบเปิดโอกาสในการพัฒนาทักษะที่หลากหลาย เป็นไปเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาทักษะทางสังคม ทางภาษา ทางปัญญา และใช้ทักษะทางกาย ที่สำคัญเป็นการกระตุ้นพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์และได้พัฒนาสมรรถะตนเองจนถึงขีดสูงสุด การจัดการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น คือ จัดการหลักสูตรและใช้หลักสูตรเดียวกันและปรับหลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา รวมถึงความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในด้านการเรียนการสอน การสนับสนุนและบริหารจัดการการเรียนการสอนในพื้นที่ห่างไกลและกิจกรรมทุกกิจกรรมที่เสริมสร้างคุณภาพห้องเรียนชายขอบห้องเรียนพื้นที่ห่างไกล และเป็นไปเพื่อเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในพื้นที่ชายขอบหรือพื้นที่ห่างไกล อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
Article Details
References
กนก วงษ์ตระหง่าน. (2564). การสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนชื่อดัง : ภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำคุณภาพทางการศึกษา.[Online]. Available : https://thailand.un.org/th/sdgs/4. [2565, ธันวาคม 28].
กรกมล ศรีวัฒน์. (2564). เปิดบทเรียนการส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน. [Online]. Available : https://www.eef.or.th/educational-equality-in-asian/. [2566, มกราคม 22].
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563). 5 นวัตกรรม ที่จะมาทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหายไปภายใต้แนวคิด All for Education. [Online]. Available : https://www.eef.or.th/knowledge-19-10-20/. [2565, ธันวาคม 18].
อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ. (2562). โรงเรียนขนาดเล็ก ปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 6 (2), 93-103.
ปริญญา ชาวสมุน. (2564, กุมภาพันธ์ 9). ‘เด็กชายขอบ’ กับคุณภาพ ‘การศึกษา’ ในวันที่ห้องเรียนยังหลังคารั่ว ใน กรุงเทพธุรกิจ. [Online]. Available : https://www.bangkokbiznews.com. [2565, ธันวาคม 25].
มนต์นภัส มโนการณ์ . (2560). การสังเคราะห์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18 (1), 70-82.
ประกาศ เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 83 ก. 31-40.
รัชวดี แสงมหะหมัด. (2560). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: คุณภาพสังคมที่คนไทยมองเห็น. วารสารรัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์, 8 (1), 31-40.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2564 สภาวการณ์การจัดการศึกษาตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. นนทบุรี : บริษัท เซ็นจูรี่ จำกัด. องค์การสหประชาติ. (ม.ป.ป.). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย. [Online]. Available :
https://thailand.un.org/th/sdgs/4. [2566, มกราคม 10].
Farrell, J. B. (1994). Social Equality and Educational Expansion in Developing Nations. The International Encyclopedia of Education, 2 (9), 75.
Melaville, A, Berg, A. C., & Blank, M. J. (2015). Community-based learning : Engaging students for success and citizenship. [Online]. Available : http://digitalcommons.unomaha.edu/slcepartnerships/40. [2022, December 24].