การศึกษาทักษะการอ่านเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กมลพรรณ เรืองเดช
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทักษะการอ่านเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนศรีวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประเภทสามัญ จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบประเมินทักษะการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผลค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และสถิติทดสอบที (t–test) แบบ Dependent


ผลการวิจัยพบว่า


(1) ทักษะการอ่านเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการประเมินทักษะการอ่านก่อนเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (x̅ = 1.77, S.D.= 0.71), เมื่อพิจารณาประเด็นการประเมิน ทั้ง 4 ประเด็นอยู่ในระดับพอใช้ ได้แก่ ความถูกต้องในการอ่าน (x̅ = 1.93, S.D.= 0.84), น้ำเสียง การเว้นวรรคตอน (x̅ = 1.72, S.D.= 0.65), ความเข้าใจ (x̅ = 1.69, S.D.= 0.76) และการจับใจความ (x̅ = 1.72, S.D.= 0.80) ผลการประเมินทักษะการอ่านหลังเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (x̅ = 2.48, S.D.= 0.88) เมื่อพิจารณาประเด็นการประเมิน ประเด็นที่อยู่ในระดับดี ได้แก่ ความถูกต้องในการอ่าน (x̅ = 2.83, S.D.= 0.76) และน้ำเสียง การเว้นวรรคตอน (x̅ = 2.66, S.D.= 0.72) ประเด็นที่อยู่ในระดับพอใช้ ได้แก่ ความเข้าใจ (x̅ = 2.24, S.D.= 1.12) และการจับใจความ (x̅ = 2.21, S.D.= 1.18)


(2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านเรื่องสั้นภาษาอังกฤษระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer-Assisted Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สายสุดา ปั้นตระกูล. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและผู้เรียนปกติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกริก.

อมฤดา พงษ์ศักดิ์. (2562). การโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยตามแนวคิด Active Learning ในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไอลดา จันทร์ลอย. (2562). ความสามารถในการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการเรียนรู้แบบ

เพื่อนช่วยเพื่อนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

Khon, J.J., & Vajda, P.G. (1975). Peer-mediated instruction and small group interaction In the ESL Classroom. TESOL Quarterly, 4 (9), 379-390.

Paulston and Bruder. (1976). Teaching as a Second Language: Techniques Procedures. New York : Winthop Pubishers.