ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นี้มุ่งศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากเอกสาร (Documentary research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับกลุ่มผู้นำ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน


ผลการวิจัยพบว่า


ชาวชุมชนตำบลยางสีสุราชได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ภูมิปัญญาทางด้านความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ ศาลปู่ตามาอนุรักษ์ป่าชุมชน ภูมิปัญญาทางด้านความรู้ดั้งเดิมของบรรพบุรุษ คือ การทำปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยหมักมาใช้ในการบริหารจัดการขยะในชุมชน และภูมิปัญญาความรู้ดั้งเดิมทางด้านการสร้างฝายชะลอน้ำมาบริหารจัดการแหล่งน้ำของชุมชนในฤดูแล้งเพื่อจะได้มีน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค การทำปศุสัตว์ และการทำเกษตรกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญนภา สุขคร. (2555). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำฝายชะลอน้ำกรณีตัวอย่างชุมชนบ้านกิ่วท่ากลาง-ท่าใต้ ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 10 (1), 255-267.

ครรชิต ธรรมรักษ์. (2566, พฤษภาคม 7), กำนันตำบลยางสีสุราช, ตำบลสีสุราช. สัมภาษณ์.

_______. (2566, พฤษภาคม 10), กำนันตำบลยางสีสุราช, ตำบลสีสุราช. สัมภาษณ์.

จิตติมา ปิดตานัง. (2566, เมษายน 30), สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลยางสีสุราช, ตำบลสีสุราช. สัมภาษณ์.

ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองโก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม, 28 (1), 193-202.

บุญยงค์ เกศเทศ ( 2542). ดอนปู่ตา : ป่าวัฒนธรรมอีสาน. [Online]. Available : http://pttinternet.pttplc.com /greenglobe/2542/writing-01.htm. Asp. [2566, เมษายน 16].

ปฐม คเณจร. (2527). ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ฉบับหม่อมอมรวงศ์วิจิตร. อุบลราชธานี : กรมศิลปากร.

ปรีชา โพเทพา. (2566, เมษายน 26), ผู้ใหญ่บ้าน, บ้านโพธิ์ชัย. สัมภาษณ์.

_______. (2566, พฤษภาคม 11), ผู้ใหญ่บ้าน, บ้านโพธิ์ชัย. สัมภาษณ์.

พระธีรพงศ์ ธีรปญฺโญ และคณะ. (2564). การรักษาป่าชุมชนด้วยแนวคิดผี พราหมณ์ พุทธ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8 (4), 107-118.

พิทยา ระถี. (2566, พฤษภาคม 11), นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางสีสุราช, ตำบลสีสุราช. สัมภาษณ์.

มูลนิธิสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (2566). การจัดแบ่งสาขาสำหรับภูมิปัญญาไทย. [Online]. Available : https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=23&chap=1&page=t23-1-infodetail03.html.asp. [2566, พฤษภาคม 8].

เรือง เสาอีง้อง. (2566, เมษายน 26), ตัวแทนของชาวบ้านที่ทำหน้าที่สื่อสารกับผีปู่ตา, ตำบลสีสุราช. สัมภาษณ์.

ลัดดา กนกโชติพันธ์. (2566, เมษายน 30), ชาวบ้าน, บ้านโพธิ์ชัย. สัมภาษณ์.

ศาลิมาร์ เกิดกลิ่นหอม. (2562). แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน : เทศบาลนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561–2580

(ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. [Online]. Available : https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=13651&filename

=develop_issue.asp. [2566, เมษายน 16].

อุทยานราชพฤกษ์. (2564). จอมปราชญ์แห่งการพัฒนา ชะลอน้ำ : เพิ่มความชุ่มชื้น ฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. [Online]. Available : https://www.royalparkrajapruek.org/Knowledge/view/219. asp. [2566, พฤษภาคม 7].

แอนนา ปิดตานัง. (2566, เมษายน 26), ชาวบ้าน, บ้านโพธิ์ชัย. สัมภาษณ์.