ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ความรู้ หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุงยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทัศนคติ หมายถึง ความคิด ความเชื่อ ท่าทีความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ส่วนพฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การปฏิบัติของบุคคลที่ทำให้เกิดการกระทำหรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติ เพื่อป้องกันความเจ็บป่วยหรือส่งเสริมให้มีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม เป็นการเกิดพฤติกรรมเป็นสิ่งที่บุคคลปฏิบัติออกมาทางร่างกาย โดยมีความรู้และทัศนคติที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการปฏิบัติที่ถูกต้อง กระบวนการที่จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาและการตัดสินใจหลายขั้นตอน แต่กระบวนการทางการศึกษาจะช่วยให้เกิดพฤติกรรมการปฏิบัติได้ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง ครู ญาติผู้ใกล้ชิด ควรให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะในโรงเรียนมัธยมศึกษา ควรจัดกิจกรรมรณรงค์แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน เพื่อสร้างสุขนิสัยที่ดี รวมทั้งจัดนิทรรศการส่งเสริมทันตสุขภาพในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การจัดบอร์ดความรู้เรื่องทันตสุขศึกษาเพื่อสร้างความตระหนักรู้ เป็นต้น
Article Details
References
กมลวรรณ มุลเมืองแสน. (2561). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ และการแปรงฟัน ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง (รายงานวิจัย). ตรัง : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2560). รายงานผลการประเมินประเมินผลการดำเนินงานเสริมสร้าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. [Online]. Available : http://www.hed.go.th/linkHed/321.
, ตุลาคม 10].
กันยารัตน์ วิโรจนพงศ์. (2545). การบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดฟันผุในคนวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันทนา อึ้งชูศักดิ์. (2547). ฟันผุในเด็กไทย. นิตยสารหมอชาวบ้าน, 300, 4-5.
เฉลิมพล ตันสกุล. (2541). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข. กรุงเทพฯ : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2562). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้ บริการแอปพลิเคชันอาหาร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดารณี พานทอง. (2542). ทฤษฎีจูงใจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ทิพย์วรรณ ราชพิทักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้ความเข้าใจของนักบัญชีต่อการนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา : นักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18 (1), 680-690.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2556). ทัศนคติการวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
พรรณี เลาวะเกียรติ. (2545). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีฟันผุและไม่มีฟันผุโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เพ็ญรัตน์ ลิมประพันธ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดสุโขทัย. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุกัญญา บัวศรีและคณะ. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผักและผลไม้ของเด็กวัยเรียนในจังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลสาร, 47 (2), 24-34.
อัจฉราพร ปะทิ. (2559). ความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของประชาชนในชุมชนต่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง : กรณีศึกษาประชาชนในตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัญชลี ดุษฎีพรรณ์. (2538). การให้ทันตสุขศึกษา. เชียงใหม่ : ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรกานต์ สุคนธวิโรจน์. (2560). ทัศนคติของกลุ่มคนเจนวายต่อความตั้งใจใช้บริการห้องพักโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อรทัย แก้วจันทร์. (2548).41 พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียนประถมศึกษา.
การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bloom, et al. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill.
Gochman, D. S. (1988). Health behavior : Emerging research perspectives.
New York : Plenum Press.