การวิเคราะห์งานวิจัยด้านหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Main Article Content

นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณภาพงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาด้านหลักสูตรและการสอน 2. วิเคราะห์คุณลักษณะและองค์ความรู้ด้านหลักสูตรและการสอน ประชากรในการวิจัย คือ งานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ปีการศึกษา 2563-2565 จํานวน 50 เล่ม ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย 1. คุณภาพงานวิจัยด้านหลักสูตรและการสอน 2. คุณลักษณะและองค์ความรู้ด้านหลักสูตรและการสอน 3. วิธีการหาคุณภาพงานวิจัยด้านหลักสูตรและการสอน โดยใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และวิธีการหาคุณลักษณะและองค์ความรู้ด้านหลักสูตรและการสอน โดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยและองค์ความรู้ด้านหลักสูตรและการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยด้านหลักสูตรและการสอน พบว่า ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.35, S.D. = 0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า งานวิจัยด้านการสอน มีผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยในระดับมาก ( x̅ = 4.37, S.D. = 0.21) รองลงมา คือ งานวิจัยด้านหลักสูตร ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยในระดับมาก (x̅ = 4.35, S.D.= 0.21)  

  2. ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยและองค์ความรู้ด้านหลักสูตรและการสอน พบว่าสามารถแบ่งงานวิจัยออกเป็น 2 ด้าน คืองานวิจัยด้านหลักสูตร และงานวิจัยด้านการสอน

           2.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคุณลักษณะของงานวิจัยด้านหลักสูตร พบว่า แนวคิดและทฤษฎีที่นํามาใช้ด้านหลักสูตร มากที่สุด คือ แนวคิดของไทเลอร์ ร้อยละ 43.50 แบบแผนการวิจัย มากที่สุด คือ The One-Group Pretest-Posttest Design ร้อยละ 85.55 น้อยที่สุด คือ The One-Shot Case Study ร้อยละ 14.25 เนื้อหางานวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร มากที่สุด คือ ปัญหาการใช้หลักสูตร น้อยที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตร ตัวแปรตามด้านหลักสูตร มากที่สุด คือ ผลการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 85.75 และองค์ความรู้ด้านหลักสูตร พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีจุดประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตร โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ผลการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การจัดการศึกษาตามแนวคิด ทฤษฎี วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล ศึกษาแนวการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ ศึกษาความต้องการของนักเรียนเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในด้านสาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล สร้างหลักสูตร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานมาพัฒนาหลักสูตรฉบับร่าง ทดลองใช้หลักสูตร โดยการนําหลักสูตรที่พัฒนาไปทดลองใช้ และประเมินผลหลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตร โดยการประเมินผลนักเรียนด้านผลการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาตามรูปแบบงานวิจัยตามระเบียบวิธีการวิจัย พบว่า ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบทดลอง มากที่สุด ร้อยละ 100.00


          2.2 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคุณลักษณะของงานวิจัยและองค์ความรู้ด้านการสอน พบว่า รูปแบบงานวิจัยด้านการสอนเป็นงานวิจัยแบบทดลองมากที่สุด จำนวน 43 เล่ม ร้อยละ 100 แนวคิดและทฤษฎีที่นำมาใช้ด้านการสอน วิธีสอน/เทคนิค/รูปแบบการสอน เป็นการพัฒนาชุดการเรียน/ชุดการสอน/บทเรียนสำเร็จรูป/แบบฝึก จำนวน 40 เล่ม ร้อยละ 92.00 แบบแผนการวิจัยของงานวิจัยด้านการสอนเป็นแบบ The One Group Pretest Posttest Design จำนวน 40 เล่ม ร้อยละ 92.00 และองค์ความรู้ด้านการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ผู้วิจัยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะกระบวนการ มากที่สุด ร้อยละ 70.10 รองลงมา คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาด้านพุทธิพิสัย ร้อยละ 18.40 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย ร้อยละ 6.90 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย ร้อยละ 2.30 และรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ ร้อยละ 2.30 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. (2564). หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ

การสอน หลักสูตรปรับปรุง 2564. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

จิตรภณ รักษ์มณี. (2565). การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ณัฐปวีย์ บรรยงศิวกุล และจีราวิชช์ เผือกพันธ์. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน กลุ่มวิชาเฉพาะการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10 (4), 48-54.

ทิศนา แขมณี. (2559). 14 วิธีสอนสําหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิติวัฒน์ ตันติยนุกูลชัย. (2565). การพัฒนาทักษะการจำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคการจำแบบใช้รูปภาพเป็น

สื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

บุศราพร อรรถวุฒิกุล. (2565). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เรื่อง ลำดับการประมวลผลของตัวดำเนินการโดย

การเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ (5Es) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพุทธศาสน์โกศล (วัดวังยาว). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

บัวศรี อุบลศิลป์. (2565). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในกลุ่มไร่ขิงพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

พรสุดา แสนพรมมา. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเลือกซื้อสินค้าและบริการโดยใช้การจัด

การเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ชัยมงคล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

พนมวัลย์ สุริยมณฑล. (2565). การสังเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2548-2558. วารสารหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1 (1), 14-31.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2565). การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2558). วิธีสอนทั่วไป. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

Glass, G. V. a. O. (1981). Meta-Analysis in Social Research. Beverly Hill : Sage Publication.