การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยเทคนิคการนิเทศแบบฐานข้อเท็จจริง (FACT BASED) ร่วมกับ Fraction Test Series By GeoGebra & Canva

Main Article Content

สุจริยา ขมสนิท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางการการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยเทคนิคการนิเทศแบบฐานข้อเท็จจริง (FACT BASED) ร่วมกับ Fraction Test Series By GeoGebra & Canva 2) สร้างคู่มือการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยเทคนิคการนิเทศแบบฐานข้อเท็จจริง (FACT BASED) ร่วมกับ Fraction Test Series By GeoGebra & Canva 3) ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินความคิดเห็นของครูต่อการใช้คู่มือฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนเอกชนจังหวัดชลบุรี จำนวน 27 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนที่มีนักเรียนสมัครใจเข้ารับการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 เป็นครู จำนวน 47 คน และนักเรียน จำนวน 1,314 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสนทนากลุ่ม 2) แบบประเมินความเหมาะสมของเทคนิคฯ 3) คู่มือการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วนฯ 4) แบบทดสอบชุด Fraction Test Series By GeoGebra & Canva 5) แบบทดสอบความสามารถด้านคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ของสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 6) แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อคู่มือฯ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าที  


ผลการวิจัยพบว่า


แนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการจัดการเรียนการสอน กระบวนการวัดและประเมินผล กระบวนการนิเทศ ติดตามและประเมินผล และกระบวนการวิจัยและพัฒนา พัฒนาเป็นเทคนิคการนิเทศแบบฐานข้อเท็จจริง (FACT BASED) ร่วมกับ Fraction Test Series By GeoGebra & Canva ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด คู่มือการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศษส่วนฯ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ และความคิดเห็นของครูที่มีต่อคู่มือการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศษส่วนฯ อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่’ประเทศไทย จำกัด.

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา. (2564). รายผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

O-NET ปีการศึกษา 2563. ชลบุรี : กีรติการพิมพ์.

กาญจณ์พิชชา บารมี. (2562). การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ โดยใช้

โปรแกรม GeoGebra เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

คณะกรรมาธิการการศึกษาวุฒิสภา. (2563). รายงานการพิจารณาการศึกษาเรื่องข้อเสนอเชิงนโยบายเร่งด่วนว่าด้วยการบริหารการจัดการศึกษาเอกชนในช่วงสถานการณ์การแพรระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา(COVID-19) ที่เหมาะกั[สังคมไทย. [Online]. Available : https://www.senate.go.th/document/

Ext24167/24167089_0003.PDF 2019. [2564, สิงหาคม 10].

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. (2564). คู่มือการจัดการความรู้สอน Online อย่างไรให้พิชิตใจผู้เรียน. [Online]. Available : https://edu.vu.ac.th/edu2016/images/doc/KM2022.pdf. [2564, สิงหาคม 10].

จิราวัฒน์ ขจรศิลปะ. (2553). การนำเสนอรูปแบบโรงเรียนกีฬาต้นแบบในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2528). การนิเทศการศึกษา Educational Supervision. กรุงเทพฯ : K&P BOOKS

ณัชชา วชิรหัตถพงศ์. (2564). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤมล ทองดอนอ่ำ. (2561). การวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มุกดา เลขะวิพัฒน์. (2563). ตกผลึกความคิดชีวิตศึกษานิเทศก์ 30 ปี จากหลักการ ทฤษฎี สู่วิถีปฏิบัติ. แพร่ : เลิศไพศาลการพิมพ์.

รุณธิดา สีเชียงหา. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารมหาจฬุานาครทรรศน์, 8 (8), 31-42.

ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการนิเทศเต็มพิกัด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

[Online]. Available : https://www.scimath.org/ebook-mathematics/item/8378-2560-2551.[2564, มีนาคม 1].

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2561). รหัส UTQ-2106: กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. [Online]. Available : https://avs.kku.ac.th/OER-KKU/101/UTQ-106/unit1/download/UTQ2106-1.pdf. [2564, กันยายน 1].

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนา

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์. [Online]. Available : https://www.chan1.net/story/333. [2564, กันยายน 1].

เสาวนี สิริสุขศิลป์. (2564). ภาวะผู้นำทางการนิเทศการศึกษา Educational Supervisiory Leadership. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

หทัยกานต์ เลขานุกิจ. (2563). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Ika K., et al. (2022). Mathematics teacher's ability in inclusion school made learning media with

Canva application. [Online]. Available : https://doi.org/10.1063/5.0103020.

, September 30].

Nicolaou, A.A. and Pitta Pantazi. (2011). A new theoretical model for understanding fractions at

the elementary school. Proceedings of the seventh congress of the Duropean Socidty for research in mathemtics education (CERME 7), pp. 366-375. Poland : University of Rzeszow.

Praveen, S. (2015). Effectiveness of Using Geogebra on Students' Understanding in Learning

Circles. The Malaysian Online Journal of Educational Technology, 1 (4), 1-11.

Wening, P.R. (2021). Learning Media of Canva Based on Flipbook in the Subjects of Creative

Products and Entrepreneurship toImprove Students' Digital Technopreneurship

Competence. [Online]. Available : https://doi.org/10.2991/aebmr.k.210616.033.

, August 20].