ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม
พระครูสุภัทรสีลโสภณ
สำราญ ศรีคำมูล
คมศร สินทร
สิริมงคล ศรีมันตะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสาร วิชาการ บทความ ตำรา และวารสารวิชาการต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อพฤติกรรมในการใช้ชีวิต รวมถึงการเรียนรู้โลกแห่งการเรียนรู้ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากการที่มีระบบอินเตอร์เน็ตและการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งระบบเครือข่ายความรู้ออนไลน์มีการขับเคลื่อนอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผู้บริหารต้องมีความสามารถนำพาองค์กรให้มีความทันสมัยและก้าวทันต่อสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน ผู้บริหารนั้นต้องเรียนรู้ และทราบวิธีที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในองค์กรของตนเอง ให้อย่างมีประสิทธิผลทั้งจากภายนอกและภายใน อีกทั้งยังทำให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นคือโอกาสที่เกิดขึ้นมาใหม่ เพื่อให้การบริหารจัดการองค์กรก่อเกิดประโยชน์สูงสุดและพัฒนาองค์กรต่อไปได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีรู้ความสามารถในประเด็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการมีวิสัยทัศน์ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบดิจิทัล การปฏิบัติที่เลิศอย่างมืออาชีพ การปรับปรุงอย่างมีระบบ และการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล รวมทั้งการสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางสติปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล เพื่อการพัฒนาองค์กรไปในทิศทางที่ดี นอกจากนี้เทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในระบบการศึกษา เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะช่วยให้การศึกษามีการพัฒนาและเติบโตไปในวงกว้าง ซึ่งมีข้อดีก็คือเป็นการลดความเหลื่อมล้ำโอกาสทางการศึกษาได้เป็นอย่างมาก โดยผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เพื่อมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา ให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรความรู้และสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งผู้นำต้องมีองค์ประกอบในยุคดิจิทัลทั้ง 10 ประการ คือ 1) การสร้างเครือข่ายทางเทคโนโลยี 2) การสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมใหม่เพื่อการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี 3) การมีจริยธรรม ในการใช้เทคโนโลยี 4) ความสามารถในการใช้เครื่องมือทางดิจิทัล 5) การสร้างแบรนด์ (ตราสินค้า) 6) การวางแผนงานแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 7) การพัฒนาวิชาชีพ 8) การสำรวจ และการคัดเลือก ข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย 9) การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎความปลอดภัยของ ข้อมูลทางดิจิทัล และ10) การวัดและประเมินผล เพื่อให้มีการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพการศึกษา. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กมลทิพย์ อินแก้วเครือ. (2564). ความแตกต่างระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลกับภาวะผู้นำทั่วไป. [Online]. Available : https://thaiwinner.com/digital-leadership/. [2564, พฤศจิกายน 21].

กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร.

กะรัต ทองใสพร และคณะ. (2566) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. Journal of Institute of Trainer Monk Development, 6 (2), 261-270.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จิรพล สังข์โพธิ์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล : องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิราภรณ์ ปกรณ์ และคณะ. (2565). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารรัชต์ภาคย์, 16 (48), 396-410.

ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

วันชัย ราชวงศ์. (2562). ภาวะผู้นำสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่ง

ประเทศไทย, 1 (4), 25-32.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยี

อีสเทิร์น, 16 (1), 353-360.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

_______. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุรุดา สุดมี และคณะ. (2558) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเฉพาะความพิการ. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 11 (2), 7-16.

Anderson, R. E., and Dexter, S. L. (2005). School technology leadership: An empirical investigation

of prevalence and effect. Educational Administration Quarterly, 41 (1) 49-82.

Bawden, D. (2001). Information and digital literacies: a review of concepts. Journal of Documentation, 57 (2), 218-259.

Flanagan, L., and Jacobsen, M. (2003). Technology Leadership for Twenty-First Century Principal.

Journal of Educational Administration, 41, 124-142.

Kerdtip, C. (2006). Development model of education technology leadership for school

administrators under the office of basic education commission In southern Thailand. Doctoral Dissertation, Songkla University.