อาหารไทย : ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Main Article Content

เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการทางด้านอาหารไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และ 2) ศึกษาหาแนวทางการพัฒนาขับเคลื่อนอาหารไทยเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ และเอกสารทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกข้อมูลงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลทั้งหมดมาเรียบเรียง จัดระเบียบ และแยกประเภทชุดข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จะนำมาตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และนำเสนอข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา 


ผลการศึกษาพบว่า


  1. พัฒนาการทางด้านอาหารไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ยุคได้แก่ 1) ยุคสุโขทัยอาหารไทยจะอยู่ในรูปแบบที่เรียบง่ายโดยมีอาหารหลักคือข้าวกับแกงและมีปลาเป็นส่วนประกอบสำคัญ 2) ยุคกรุงศรีอยุธยา อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากชาวต่างชาติ แต่อาหารหลักก็ยังคงมีปลาเป็นส่วนประกอบ มีอาหารประเภทน้ำจิ้ม และ มีการใช้กะทิจากมะพร้าว ใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหาร 3) ยุคกรุงธนบุรี อาหารไทยมีความคล้ายคลึงกับสมัย    กรุงศรีอยุธยา แต่อาหารจีนจะเข้ามามีอิทธิพลกับอาหารไทยมากขึ้น โดยเริ่มมีวิธีการปรุงอาหารประเภทตุ๋น และทอด 4) ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ยุคนี้จะมีอาหารที่หลากหลายทั้งอาหารว่าง อาหารหวาน อาหารคาว และอาหารจานเดียว มีการผสมผสานภูมิปัญญาอาหารไทยกับอาหารนานาชาติแล้วปรับปรุงแต่งรสชาติให้มีความกลมกลืนในแบบอาหารไทย

  2. การขับเคลื่อนอาหารไทยเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มีแนวทางดังนี้ 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการเน้นพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ 2) การผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก 3) การพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ 4) การส่งเสริมการผลิตโดยการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และการวิจัยพัฒนาในทุกภาคสาขาการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทย 5) การขับเคลื่อนนโยบาย และการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง 6) การพัฒนาและสนับสนุนช่องทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทยทั้งในและต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รองศาสตราจารย์ ดร. อาจารย์ประจำสาขาวิชาคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

คณะกรรมการการจัดการความรู้. (2562). คู่มือการประเมินคุณภาพเอกสารงานวิจัย. กรุงเทพฯ :

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์.

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์. (2565). พาณิชย์หนุน “อาหารไทย อาหารโลก” รับประชากรโลกเพิ่มขึ้น พร้อมส่งเสริม “ซอฟต์เพาเวอร์” ดึงผู้ซื้อทั่วโลกร่วม “THAIFEX - ANUGA ASIA 2023”. [Online]. Available : https://mgronline.com/smes/detail/9660000047641. [2566, กรกฎาคม 12].

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2566). เปิดความหมาย ‘ภูมิพลังวัฒนธรรม’ คำจำกัดความ ‘ซอฟต์พาวเวอร์’

แบบไทย ๆ. [Online]. Available : https://thethaiger.com/th/news/966504/. [2566, ธันวาคม 2].

บัญชา พจชมานะวงศ์ (2561). ต้นแบบการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่เมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ

สร้างสรรค์. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

พระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไทย. (2526). ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง ฉบับตรวจสอบชำระใหม่.

กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ลาลูแบร์, ซิมมอน เดอ. (2557). จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 4.

(สันต์ ท. โกมลบุตร, แปล). กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา. (ต้นฉบับ พิมพ์ ค.ศ. 1693).

สิรินาฎ ศิริสุนทร. (2556). วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : องค์การสงเคราะห์

ทหารผ่านศึก.

สุทธิพงศ์ ศรีชุมพล และคณะ. (2563). ไท-ยวน : การพัฒนาอาหารพื้นบ้านเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดอุตรดิตถ์

วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7 (4), 330-344.

Creative Thailand. (2561). Creative Economy in Action. [Online]. Available : https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=28031. [2566, กรกฎาคม 6].

CNN Travel. (2021). The world’s 50 best foods. [Online]. Available : https://edition.cnn.com/travel/article/world-best-food-dishes/index.html.

, มิถุนายน 29].

MGR ONLINE. (2564). "มัสมั่นไทย" ยังคงครองแชมป์อาหารจานเด็ดที่สุดในโลก. [Online]. Available :

https://mgronline.com/travel/detail/9640000038071. [2566, มิถุนายน 29].

Nation Online. (2566). เว็บไซต์แนะนำอาหาร TasteAtlas จัดอันดับ 3 แกงไทยติดท็อปเท็น โดย "แกงพะแนง"

อันดับหนึ่ง "แกงเขียวหวาน" และ "มัสมั่น" ติดอันดับ 8 และ 9. [Online]. Available :

https://www.nationtv.tv/lifestyle/food/378908246. [2566, กรกฎาคม 8].

Thailand Plus. (2566). Soft Power อาหารไทย ฟันเฟืองใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย.

[Online]. Available : https://www.thailandplus.tv/archives/692406. [2566, กรกฎาคม 2].