การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดรายวิชาการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาการจัดการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อการเรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ได้แก่ นักศึกษากลุ่ม 2 EC/65 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดในรายวิชาการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ ด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดในรายวิชาการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (x̅= 4.28, S.D. = 0.49)
Article Details
References
ชนากานต์ คชชะ และคณะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนและทักษะการให้เหตุผล เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
วชิรธรรมโศภิต. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566 (หน้า 1563-1575). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2562). การพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา
เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาครู (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพบุตร หาญมนตรี. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เเบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการเเก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรทิพย์ ดิษฐปัญญา. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด
เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความมั่นใจในตนเองของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิสมร ชูเอม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพ็ญลดา ทู้ไพเราะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-
Share) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความ
สามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น,
ราตรี พรมบุตร. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับการใช้คำถาม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สุวีริยาศาสน์.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม 2545. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
อมรรัตน์ เตยหอม. (2563). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.