การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานตามรูปแบบ READS ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ทักษะการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1

Main Article Content

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานตามรูปแบบ READS วิชา ทักษะการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 และ (2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ตามรูปแบบ READS วิชา ทักษะการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1/1 ของวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชา ทักษะการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทักษะการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ตามรูปแบบ READS วิชา ทักษะการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t–test) แบบ  Dependent 


ผลการวิจัยพบว่า


(1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานตามรูปแบบ READS วิชาทักษะการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


(2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานตามรูปแบบ READS วิชาทักษะการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 โดยภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅= 4.73, S.D. = 0.34) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ และธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว. (2559). การสอนแบบทันสมัยและเทคนิควิธีสอนแนวใหม่.

[Online]. Available : http://regis.skru.ac.th/RegisWeb/datafiledownload/25590714-15.pdf. [2567, กุมภาพันธ์ 7].

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น .

พงศธร มหาวิจิตร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบ

เชิงรุก ในรายวิชาการประถมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42 (2), 73-90.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รวินันท์ สัจจาศิลป์ และชลาธิป สมาหิโต. (2562). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน

ผ่านการสร้างสื่อจําลองที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16 (2), 111-124.

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานตามรูปแบบ READS วิชา

การพัฒนาหลักสูตร ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2. วารสารนิสิตวัง, 25 (2), 33-45.

อลงกรณ์ พรมที. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม เรื่องคลื่น

แม่เหล็กไฟฟ้าและการแพร่กระจายสำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Somkiart Intasingh. (2019). Development of Learning Management Model by Integrating

PhenoBL Approach and DTP to Promote Curriculum Knowledge, Innovative Thinking

Ability, and Achievement Motivation of Thai Pre-Service Teachers. ASEAN Journal of

Education, 5 (2), 21-32.

Symeonidis, V., and Schwarz, J. F. (2016). Phenomenon-Based Teaching and Learning through the

Pedagogical Lenses of Phenomenology: The Recent Curriculum Reform in Finland. Forum

Oświatowe, 28 (2), 31-47.

Varinporn Funfuengfu. (2022). The development of Phenomenon-Based Learning Model for enhancing Active learning Competencies of Teacher Students. International Journal of Positive School Psychology, 6 (7), 1366–1377.