ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้ 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้ 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มเขตกรุงธนใต้ ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้จาก 7 สำนักงานเขต รวมทั้งสิ้น 2,943 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้ จาก 7 สำนักงานเขต จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 5 ระดับ มีค่า (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้ ทั้ง 5 ด้านมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้ทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้ มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
4) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผลด้านสังคม กฎหมาย และจริยธรรม ด้านความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและด้านการสนับสนุนการบริหาร และการปฏิบัติงาน สามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้ โดยมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 64.6
สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้
Y´ = .390+.249X3 +.227X4 +.129X1 + .174X2+.150X5
สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
Z = .270X3 + .227X4 + .147X1 + .184X2 + .164X5
Article Details
References
กนกพร โหงวเกิด. (2563) สมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการใน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
จันจิรา น้ำข้าว. (2562) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2563) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชนกานต์ เอี่ยมสะอาด (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธนัชนันท์ ทูลคําเตย และคณะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33 (2), 71-77.
นันทพงศ์ มงคลแก้วเลิศ และชัยยนต์ เพาพาน. (2566). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 3 (2), 90-104.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมชัยภูมิ เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์,
(1), 184-193.
สุรพล พรเพ็ง. (2561). การบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิทย์ ขำคล้าย. (2565) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2566) รายงานสถิติการศึกษาปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร. [Online]. Available : https://webportal.bangkok.go.th/user_files/2052212579651f64bf7549d6.15479121.pdf. [2022, September 1].
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2564-2569. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท วันไฟน์เดย์ จำกัด.
วสันต์ชัย สดคำขำ. (2563) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยี
และเจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรีเขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศุภวรรณ รูปงาม. (2563) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Kozloski, K., C. (2006). Principal leadership for technology integration : A study of principal technology leadership. Doctor of Philosophy Dissertation, Drexel University.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.
Molyneux and Godinho, (2012). This is my thing: Middle years students’ engagement and learning using digital resources. Australasian Journal of Education Teachnological, 28, 146–148.