การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ความรู้พื้นฐานและการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต1 (2) ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และ (4) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่มีต่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 การวิจัยนี้เป็นทดลองการใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากร จำนวน 14 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (1) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ และเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย (1) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) แบบประเมินเจตคติของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
(1) องค์ความรู้พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ มีเนื้อหาจำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ 1) ประวัติความเป็นมาของไทยทรงดำ 2) ประวัติความเป็นมาของไทยทรงดำบ้านดอนรวบ 3) ภาษาไทยทรงดำ 4) วิถีชีวิตไทยทรงดำบ้านดอนรวบ 5) ประเพณีและพิธีกรรมไทยทรงดำบ้านดอนรวบ 6) การละเล่นไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ และองค์ประกอบของหลักสูตร 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) เป้าหมาย 4) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6) โครงสร้างเวลาเรียน 7) โครงสร้างหลักสูตรท้องถิ่น 8) สาระการเรียนรู้ 9) การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 10) คำอธิบายรายวิชา 11) สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น/หน่วยการเรียนรู้ และ 12) แผนการจัดการเรียนรู้
(2) ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก
(3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนหลักสูตรท้องถิ่นประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ พบว่า กลุ่มประชากรมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(4) ผลการเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนหลักสูตรท้องถิ่นประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ พบว่า กลุ่มประชากรมีเจตคติต่อหลักสูตรหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กัณฐาภรณ์ พานเงิน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ชีวิตแบบ พอเพียงอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องชุมชนริมน้ำจันทบูร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและ วัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
กัญยารัตน์ พลอยศิริภูริช. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการ เรียนการสอนบทบาทสมมติร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชนกนันท์ พุ่มไสว. (2565). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น อุตรดิตถ์เมืองท่าแห่งทิศเหนือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ชิติพัทธ์ สุขเกษมศิลป์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง คชศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชฎานิศ ช่วยบํารุง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การถนอมอาหารจากผลไม้ท้องถิ่น จังหวัดระยอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
พนารัตน์ มาศฉมาดล. (2560). เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
[Online]. Available : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560. [2566, มีนาคม 4].
พุทธินันทน์ บุญเรือง. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารจดัการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียวในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
โรงเรียนวัดดอนรวบ. (2561). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดดอนรวบ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค.
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2561) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดลำพูน.
ออมสิน จตุพร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดการศึกษาอิงถิ่นฐาน สําหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา : กรณีชุมชนลุ่มแม่นํ้า เจ้าพระยาตอนบน จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อำนาจ แสงทอง. (2566, พฤศจิกายน 1), ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลบางหมาก, สภาวัฒนธรรมตำบลบางหมาก. สัมภาษณ์.