การวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ไพโรจน์ โอ่งตั๋ว
วรนุช แหยมแสง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling random) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ เป็นแบบทดสอบคู่ขนานแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 38 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .317 ถึง .863 โดยข้อที่คู่ขนานกันมีค่าความยากง่ายใกล้เคียงกัน มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .206 ถึง .620 โดยข้อที่คู่ขนานกันมีค่าอำนาจจำแนกใกล้เคียงกัน และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .908 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้านการเข้าใจแนวคิด มีจำนวนนักเรียนที่เข้าใจแนวคิดคลาดเคลื่อนต่ำสุด ร้อยละ 21.74และจำนวนนักเรียนที่เข้าใจแนวคิดคลาดเคลื่อนสูงสุด ร้อยละ 56.52

  2. มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้านการตีความ มีจำนวนนักเรียนที่ตีความคลาดเคลื่อนต่ำสุด ร้อยละ 8.70และ จำนวนนักเรียนที่ตีความคลาดเคลื่อนสูงสุด ร้อยละ 47.83 

  3. มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้านการคิดคำนวณ มีจำนวนนักเรียนที่คิดคำนวณคลาดเคลื่อนต่ำสุด ร้อยละ 8.70และจำนวนนักเรียนที่คิดคำนวณคลาดเคลื่อนสูงสุด ร้อยละ 26.09

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงกล ทำสวน. (2548). การวินิจฉัยข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม. Journal of Education Studies, 33 (3), 100-110. DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.33.3.10.

นพพร แหยมแสง และอุไร ซิรัมย์. (2561). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

พรพรรณ โตโภชนพันธุ์. (2565). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยหลายตัวเลือกสี่ลำดับขั้น เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนตรรกยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ.

พัชรา ผาลิบุตร และนพพร แหยมแสง. (2565). การศึกษาข้อบกพร่องและมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังวาลย์วิท 7. การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไพจิตตรี กรชม. (2562). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพฑูรย์ เอื้อบุญประดิษฐ์. (2563). การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎี

บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 2–ค่าสถิติแยกตามมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. หน่วยทะเบียนและประเมินผล, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 2–ค่าสถิติแยกตามมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. หน่วยทะเบียนและประเมินผล, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 ฉบับที่ 2–ค่าสถิติแยกตามมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. หน่วยทะเบียนและประเมินผล, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้

คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

_______. (2565). (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ... ระดับประถมศึกษา. [Online]. Available : https://cbethailand.com/download/6671/. [2024, April 2].

อัมพร ม้าคนอง. (2545). การวินิจฉัยข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Journal of Education Studies, 30 (3), 15–20. DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.30.3.2.

อุไรวรรณ ศรีไชยมูล. (2554). การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Arican, M. (2018). A diagnostic assessment to middle school students' proportional reasoning. Turkish Journal of Education, 8 (4), 237–257. DOI: 10.19128/turje.522839.

Ben-Chaim, D., et al. (2012). Ratio and Proportion: Research and Teaching in Mathematics

Teachers' Education (Pre- and In-Service Mathematics Teachers of Elementary and Middle School Classes). Rotterdam, Sense Publishers.

Güler-Okumuş, M. and Güveli, E. (2023). Elimination of misconceptions about percentages with the cognitive conflict approach. Journal of Computer and Education Research, 11 (21), 162-193. https://doi.org/10.18009/jcer.1223434.

Hamza Cahsici. (2018). Middle School Students' Learning Difficulties in the Ratio-proportion Topic and a Suggested Solution: Envelope Technique. Universal Journal of Education Research, 6 (8). DOI: 10.13189/ujer.2018.060830.

Kaplan, A., et al. (2011). The misconceptions in ratio and proportion concept among 6th grade students. Kastamonu Education Journal, 19 (3), 953-968.

Shoaib, A. and Akhter, M. (2020). Diagnosing high school students' mathematics misconceptions. International Review of Social Sciences, 8 (12), 368-385.