การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

เมธี อนันต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) เปรียบเทียบความสามารถการสื่อสารภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสามัคคีพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 198 คน   ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรม ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรม แบบทดสอบความสามารถการสื่อสารภาษาไทย และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic induction) แล้วเขียนบรรยายเป็นความเรียง


ผลการวิจัยพบว่า


1.ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยปัญหาการสื่อสารภาษาไทยของนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ที่พบ คือ นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กชาวไทยภูเขาในพื้นที่ชายขอบมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในการสื่อสารและการจัดการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทเชิงพื้นที่ หลักการการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบด้วย 5 ประการ ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์แบบพึ่งพากัน การมีปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้า ทักษะทางสังคม กระบวนการกลุ่ม และผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ความสามารถในการสื่อสารภาษาไทย ประกอบด้วย 5 ประการ ได้แก่ ความสามารถในการอ่าน การเขียน การฟัง การพูด และการใช้หลักภาษาไทย


2.ชุดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และมีค่าประสิทธิภาพ 40/89.50


3.ความสามารถการสื่อสารภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


4.ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพรรณ ดีรับรัมย์ และศิริพร พึ่งเพ็ชร์. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4 (2), 253-266.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย CTH 3109 (TL 316). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 25.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาเพ็ญ แสนสามารถ. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการอ่านการเขียนแบบแจกลูกสะกดคำ เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียน การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญปารถนา มาลาทอง และคณะ. (2562). ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียน ภาษาไทย. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1 (1), 25-38.

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง. (2559). รายงานความคืบหน้าการพัฒนาการศึกษาของเด็กในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. เชียงราย : มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง.

เมธี อนันต์. (2566). คุณภาพห้องเรียนชายขอบ : โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา. วารสารนิสิตวัง, 25 (1), 120-128.

สุมลรัตน์ ต่ายตะเวน และกฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2565). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRE ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามด้านพุทธิพิสัยของบลูมเพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 5 (2), 234-251.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2562). ภาษาไทยสำหรับครูประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Darling-Hammond, L. (2010). New policies for 21st century demands. In J. Bellanca and

R. Brandt (Eds.), 21st century skills : Rethinking how students learn. Bloomington, IN : Solution Tree

Press. Johnson, D. W., and Johnson, R. T. (2010). Cooperative learning and conflict resolution : Essential 21st century skills. In J. A. Bellanca and R. S. Brandt (Eds.), 21st century skills

Rethinking how students learn. (pp. 201-221). Bloomington, IN : Solution Tree Press.

_______. (1989). Cooperation and competition : Theory and research. Edina, MN : Interaction

Book Company.

Johnson R. T., and Johnson, D. W. (1994). An overview of cooperative learning. In J. S. Thousand, et al. (Eds.), Creativity and collaborative learning. (pp. 31-34). Baltimore, Maryland : Paul H. Brookes Publishing Co.