การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา)

Main Article Content

กนกลดา อังกินันทน์
กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ
นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา)  โดยทำการสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 24 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่า t-test for dependent


ผลการวิจัยพบว่า


1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา)  มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.83/80.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  80/80 ที่กำหนด


2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  


3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา) ที่มีต่อ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  4.78, S.D. = 0.10)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2551). รายงานการศึกษานวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เขมจิรา เครือตา. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ขวัญข้าว สิทธิศักดิ์. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การแต่งบทร้อยกรอง ประเภทกลอนสุภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ที่ได้รับการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

งานวิชาการโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา). (2566). สรุปรายงานวิชาการโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา) ปีการศึกษา 2565. เพชรบุรี.

ทาริกา สมพงษ์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธิวากร โมฆรัตน์ และสิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา) ที่เรียน โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์กับการเรียนแบบปกติ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 12 (7), 327-334.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พรพรรณ จันตระ. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการคิดโดยเทคนิคการใช้คำถามร่วมกับแผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2550). สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส

ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

ศุภิษรา วัฒนศิริ. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมนิทานเพื่อเสริมสร้างสุขนิสัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2.

การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิรดา เอียดแก้ว. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยวิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทกับ วิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2561). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : เทคนิค พริ้นติ้ง.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.