แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมระยอง เขต 1 เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งและประสบการณ์การปฎิบัติงาน และเพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 276 คน ได้มาโดยใช้ตารางของเครจซี่ มอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาที่มีผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับยอดเยี่ยม จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ค่าเอฟ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมนักเรียน
2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งเสริมนักเรียน และด้านกิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา มี 7 แนวทาง ดังนี้ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านกิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง การส่งต่อนักเรียน และการสรุปผล
Article Details
References
กรดา มลิลา และเพ็ญนภา สุขเสริม. (2564). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8 (2) : 29-42.
กรมสุขภาพจิต. (2551). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วงชั้นที่ 1-2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมสุขภาพจิต. (2554). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.
กรรณิการ์ นีละนันท์. (2555). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงศึกษาธิการ. 2552. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จันจิรา ไชยรัตน์ และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2561) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. หัวข้อพิเศษ : งานวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 27-28 มีนาคม 2561 (หน้า 1-8). นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ชรินทร์ คำหล้า. (2553). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้เทคนิคการเทียบระดับ (Benchmarking) : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเวียงหมอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เชาวลิต จินดารัตน์. (2551). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา : ยุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
นูรมาน พิทักษ์สุขสันต์. (2564). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอ
สายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
บรรทม รวมจิตร. (2553). การศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปารีวรรณ โคตรชมพู. (2554). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน
ชำฆ้อพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
แพรวพรรณ สุนันต๊ะ. (2552). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
วิทยา ชุมหล่อ. (2557). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ศรินธร มีเพียร. (2560). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนศรียาภัย อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศิริ โชคสกุล. (2559). การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์ 9 จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สงกรานต์ เนียมทอง. (2557). การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไพศาลีวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2546). แนวดำเนินการของสถานศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมเสริม
ประสบการณ์พัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาระยอง เขต 1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563-2565. [Online]. Available : https://www.rayong1.go.th/rayong1. [/2566, มีนาคม 20]. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2550). พระราชบัญญัติส่งเสริมเด็กและเยาวชน. [Online]. Available : http://www.astcorner.com. [2566, มกราคม 31].
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3. (2560). รายงานสถานการณ์ทางสังคม ระดับกลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราด ประจำปี 2560 (รายงานสถานการณ์). ชลบุรี : สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2550). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์. กาญจนบุรี : โล้วเฮงหมงมีเดีย.
สุจิตรา ช่วงโชติ. (2556). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนระยอง
ปัญญานุกูล สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Arlington Pubic Schools. (2019). Student Support Manual. [Online]. Available :
https://www.apsva.us/wp-content/uploads/2019/08/2019-Final-Student-Support-Manual-Web-Version-.pdf-iss-your-school. [2023, March 16].
Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.
Journel of Education and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.
National education psychological service. (2017). Student Support File: Guidelines. [Online].
Available : https://www.sess.ie/sites/default/files/inline-files/Student-Support-File-Guidelines.pdf. [2023, March 16].
State of Victoria Department of Education and Training. (2018). STUDENT SUPPORT SERVICES
HANDBOOK NOVEMBER 2018. [Online]. Available : https://www.education. vic. gov.au/Documents/school/principals/spag/safety/stusupphandbook.pdf. student handbook/currentstudenthandbook.pdf. [2023, March 16].
The College of St. Scholastica. (2017). Services Student Handbook. [Online]. Available :
http://resources.css.edu/sss/student_handbook/. [2023, March 16]. Washington State Office of Superintendent of Public Instruction. (2017). Integrated Student Supports (ISS). [Online]. Available : https://safesupportivelear ning.ed.gov/voices-field/what-stage-implementing-integrated-student-supportsiss-your-school.[2023, March 16].