การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

จีรนันท์ เจ็งเจริญ
ประยูร บุญใช้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผล การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาล พระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 68 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 34 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล 4) แบบวัดความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test


ผลการวิจัยพบว่า


1) องค์ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ชุดกิจกรรมมีองค์ประกอบ 4 องค์ ประกอบ ดังนี้ (1) คู่มือสำหรับครูและนักเรียน (2) คำสั่งหรือคำแนะนำ (3) เนื้อหาสาระและสื่อการสอน (4) แบบฝึกหัด จำนวน 2 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 รู้จักการเกิดหินและวัฏจักรหิน และชุดที่ 2 นักล่า ซากดึกดำบรรพ์ ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.54/84.71 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80


2) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก พบว่า


2.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 25.41 และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.43 มีผลการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


 2.2 ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนในภาพรวม พบว่า พฤติกรรมที่ 1 การเขียนรูปแบบการนำเสนอที่เลือกอยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมที่ 2 การเขียนอธิบายเหตุผลประกอบการเลือกรูปแบบการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมที่ 3 การเขียนออกแบบเค้าโครงของรูปแบบการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมที่ 4 การเขียนระบุข้อมูลลงในเค้าโครงของรูปแบบการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก และพฤติกรรมที่ 5 การพูดหรือการเขียนบรรยายอยู่ในระดับดีมาก ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก


3) นักเรียนมีความพึงพอใจด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ด้านบริบทบรรยากาศในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมาก ด้านครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ด้านเอกสารประกอบการสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ด้านการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ซึ่งค่าเฉลี่ยความพึงพอใจทั้ง 5 ด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.82 โดยอยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2564). การจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฆนัท ธาตุทอง. (2559). หลักการจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.

จันทรา ด่านคงรักษ์. (2565). คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพย์อุบล ทิพเลิศ. (2560). วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. อุดรธานี : สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรศักดิ์ (อุปรมัย) อุปไมยอธิชัย และศิริพร ศรีจันทะ. (2564). 179 วิธีรวมสูตรการสอน ฉบับกระเป๋า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท กู๊ดเฮด พริ้นติ้ง แอนท์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำกัด.

นันท์นภัส นิยมทรัพย์. (2560). ความรู้พื้นฐานด้านการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

พรพิไล เลิศวิชา. (2558). คู่มือพลิกโฉมโรงเรียนตามแนวคิด BBL. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนท์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ภัค อินสิงห์ และคณะ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับเทคนิค แผนผังกราฟิก เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพในรายวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม, 7 (1), 47-56.

รจนา สุทธลักษณ์ และพงษ์พิรุณ วดีศิริศักดิ์. (2565, กรกฎาคม 17), ครู, โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สิทธิพล อาจอินทร์. (2563). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุฟิตรี ฮินนะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้ผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา การคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (2564). รายงานผลการพัฒนาคุณภาพทาง

การศึกษา. พระนครศรีอยุธยา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น

พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561–2580.

พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อามีเนาะ ตารีตา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกลวิธี POE ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.