รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัย ในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิต 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิต 3. เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะและรูปแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัย
ผลการวิจัยพบว่า
- ปัญหาและอุปสรรคของการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิตที่สำคัญ 6 ปัญหาได้แก่ 1. ปัญหาและอุปสรรคของการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิตที่สำคัญ 6 ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหากฎหมายและกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยรังสิต เช่น ปัญหากฎระเบียบของมหาวิทยาลัยรังสิตไม่สามารถบังคับใช้กับประชาชนภายนอกมหาวิทยาลัย และไม่เอื้ออำนวยให้ตำรวจมหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการจับกุมหรือเข้าระงับเหตุได้ เป็นต้น
2) ปัญหากระบวนและขั้นตอนการปฏิบัติงาน เช่น ขั้นตอนการปฏิบัติงานบางอย่างมีหลายขั้นตอนเกินไปทำให้ปฏิบัติตามได้ยาก และปัญหาการตัดสินใจคำสั่งมีหลายขั้นตอนมากเกินไปทำให้การทำงานล่าช้า 3) ปัญหาคุณภาพและจำนวนกำลังพลของตำรวจมหาวิทยาลัย เช่น ตำรวจมหาวิทยาลัยขาดความรู้ในการคิดวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์และขาดความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และจำนวนของตำรวจมหาวิทยาลัยมีน้อยเกินไปไม่เพียงพอกับภาระงานที่รับผิดชอบ เป็นต้น 4) ปัญหาการขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงานของตำรวจมหาวิทยาลัย เช่น ขาดแคลนกล้อง CCTV ที่ทันสมัย และขาดแคลนคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย เป็นต้น 5) ปัญหาประชาชนไม่ให้การยอมรับบทบาทหน้าที่ของตำรวจมหาวิทยาลัย เช่น ไม่ไห้ความร่วมมือ และการไม่เชื่อฟังคำสั่งของตำรวจมหาวิทยาลัย เป็นต้น และ 6) ปัญหาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของตำรวจมหาวิทยาลัย เช่น ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน และพื้นที่ในชุมชนเอื้อต่อการก่ออาชญากรรม เป็นต้น - แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิตมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบ 2) การพัฒนากระบวนและขั้นตอนการปฏิบัติงาน 3)การพัฒนาคุณภาพตำรวจมหาวิทยาลัย4) การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ 5) การพัฒนาการยอมรับของประชาชน และ 6) การปรับปรุงภูมิทัศน์ของสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชน
- ข้อเสนอแนะและรูปแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยได้แก่ 3.1 ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ควรจะดำเนินการพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับอำนาจการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ภายนอกมหาวิทยาลัย 2) ควรจะปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงานของตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต 3) ควรจะตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของตำรวจมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง 4) ควรจะให้การส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน 5) ควรจะดำเนินการประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ของตำรวจมหาวิทยาลัยให้ประชาชนเข้าใจ 6) ควรจะแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชนให้มีความปลอดภัย 3.2 รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากระบวนและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาคุณภาพตำรวจมหาวิทยาลัย ขั้นตอนที่ 4 การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ขั้นตอนที่ 5 การพัฒนาการยอมรับของประชาชน ขั้นตอนที่ 6 การปรับปรุงภูมิทัศน์ของสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชน
Article Details
References
กฤตภาส ธนวัฒนันทกุล. (2559). การดำเนินการตามนโยบายตำรวจชุมชนสัมพันธ์ : ศึกษากรณีโครงการอาสาสมัครตำรวจบ้านในเขตสถานีตำรวจภูธรเมืองชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กฤษณพงค์ พูตระกูล. (2567). ตำรวจมหาวิทยาลัย : บทเรียนจากมหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.
เกศสุดา อินทร์สาหร่าย. (2557). ปัญหาเรื่องขอบเขตอำนาจหน้าที่ของอาสาสมัครตำรวจบ้าน. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (2556). คำศัพท์. [Online]. Available : https://dictionary. orst.go.th/ [2566, สิงหาคม 10].
ยุติวิชญ์ บุญญลิต. (2560). การจัดให้มีกฎหมายรองรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการปฏิบัติภารกิจของพนักงานตำรวจด้านการป้องกันอาชญากรรม. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สถานีตำรวจภูธรปากคลองรังสิต. (2566). รายงานสถิติคดีอาญา. ปทุมธานี : สถานีตำรวจภูธรปากคลองรังสิต.
สำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต. (2564). ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.
สำนักงานทะเบียนมหาวิทยาลัยรังสิต. (2566). รายงานข้อมูลนักศึกษา. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.
อัตถกร ธรรมศิริ. (2561). แนวทางการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ และคณะ. (2557). ปัญหาอาชญากรรมในชุมชนเมืองเอก. ปทุมธานี : สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
American university. (2020). American University Police. [Online]. Available : https://www.american. edu/finance/publicsafety/upload/hireselectorientation presentation.pdf. [2023, August 10].
Jeffery, Ray C. (1977). Crime Prevention Through Environmental Design. 2nded. Beverly Hills,CA : Sage.
United Nations. (2009). Security for highest bidder : Shoddy policing for the many, costly private protection for the few. [Online]. Available : https://www.un.org/africarenewal/magazine/october-2009/security-highest-bidder. [2023, August 25].
Walter C.R. (1967). The Crime Problem. New York : Appleton Eatery Crafts