ค่าวซอบัวระวงส์ไกรสร : น้ำธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีสาระสำคัญที่เป็นเนื้อแท้เป็นแก่นแท้ ของชีวิตและมีความสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผลตามสภาพเหตุปัจจัยของสิ่งนั้นๆ ชาวล้านนาได้ยึดถือคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยผ่านกระบวนการศึกษา การประพฤติปฏิบัติบนพื้นฐานความเข้าใจและ อิทธิพลของภูมิปัญญาแนวความคิด ความศรัทธา ความประทับใจและความซาบซึ้ง ในน้ำธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอันนำไปสู่การฝึกฝนปฏิบัติตนตามหลักธรรม คำสอน เพื่อมุ่งให้รู้และเข้าใจเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต วรรณกรรมค่าวซอ “บัวระวงส์ไกรสร” เป็นมรดกนำธรรมคำสอนทาง พระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากค่าวธัมม์ เรื่อง “สุริยะวงส์ไกรสร” กวีชาวล้านนาได้แต่งขึ้นใหม่โดยใช้ฉันทลักษณ์แบบค่าวซอ แต่เดิมจารลง ในใบลานต่อมาได้พิมพ์ในกระดาษ ด้วยอักษรธรรมล้านนา พบต้นฉบับที่จารลง ใบลานจำนวน ๖ ฉบับ และฉบับที่พิมพ์จำนวน ๒ ฉบับ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ ศูนย์ ศิลปวัฒนธรรมสหวิทยาลัยล้านนา วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ได้คัดเลือกต้นฉบับ ของน้อยอ้าย ไชยเมืองเลน บ้านป่าบงหน้อย ตำบลแม่คือ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ มาปริวรรตเป็นอักษรไทยกลางและ พิมพ์เผยแพร่ในเอกสารอันดับที่ ๑๘ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สหวิทยาลัยล้านนา เชียงใหม่ ค่าวซอเรื่องนี้เป็นชาดกนอกนิบาตที่ใช้ฉันทลักษณ์แบบ “ค่าวซอ” เมื่อได้อ่านหรือได้ฟังแล้วเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ค่าวซอบัวระวงส์ไกรสรได้แนะ หลักการดำรงชีวิตโดยยึดหลักธรรมในพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นยังทำให้เกิด ความบันเทิงใจ ดังที่กวีกล่าวว่า “ข้าพเจ้าน้อยอ้าย ไชยเมืองเลน ตั้งบ้านเรือน อยู่ป่าบงหน้อย ตำบลแม่คือ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เอาธรรม เรื่องบัวระวงศ์ไกรสร มาคิดค้นขึ้นเป็นกลอนค่าวซอระบำเชียงใหม่ เพื่อหื้อคนทั้งหลายได้อ่านได้ฟังธรรมเรื่องนี้”๑ ในค่าวซอได้สอดแทรกคำสอนทางพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้เขียนได้พบหลักธรรมสำคัญ จำนวน ๒ กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ธรรมเกี่ยวกับความจริงของชีวิต และธรรมเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม อันเป็นหลักธรรมระดับพื้นฐานของสังคม ค่าวซอได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็น เครื่องมือขัดเกลาคนในสังคมมาแต่อดีตเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องชีวิตและ จริยธรรมผ่านภูมิปัญญาด้านวรรณกรรมท้องถิ่นล้านนาและที่สำคัญยังเป็น ความรู้ที่สามารถนำมาปรับใช้ในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
References
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ และทวี ผลสมภพ. (๒๕๔๗). หลักพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (๒๕๑๗). ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ. กรุงเทพฯ :กรุงสยามการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (๒๕๔๙). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (๒๕๓๙). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (๒๕๓๙). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.
สิงฆะ วรรณสัย. (๒๕๒๓). ปริทัศน์วรรณคดีลานนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒.เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาพ มานำ และคณะ, ผู้ปริวรรต. (๒๕๓๐). บัวระวงส์ไกรสร เอกสารลำดับที่ ๑๘.ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสหวิทยาลัยล้านนา เชียงใหม่ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูเชียงใหม่. ม.ป.ท..
อุดม รุ่งเรืองศรี. (๒๕๒๘). วรรณกรรมล้านนา. กรุงเทพฯ : โครงการตำรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ