พระเจ้าพาราละแข่งแห่งเมืองแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
เจ้าพาราละแข่ง, เมืองแม่ฮ่องสอนบทคัดย่อ
พระเจ้าพาราละแข่ง หรือ พระมหามัยมุนี เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับ ความนับถืออย่างแพร่หลายในกลุ่มพุทธศาสนิกชนบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้า อิรวดี-สาละวิน โดยชาวไตเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ให้ความเคารพสักการะ พระเจ้าพาราละแข่งเป็นอย่างมาก ความเชื่อดังกล่าวถูกผลิตซํ้าผ่านงาน วรรณกรรมประเภทตำนาน เรื่องเล่า การจำลองรูปเหมือน ตลอดถึงพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้อง ดังจะเห็นว่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๕ เป็นต้นมา หัวเมืองสำคัญ ของชาวไตนิยมจำลองพระเจ้าพาราละแข่งไปประดิษฐาน และนิยามให้มีสถานะ เป็นพระพุทธรูปประจำเมือง แม้ว่าเมืองแม่ฮ่องสอนจะตั้งอยู่ในพื้นที่ประเทศไทย แต่พบว่าเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ มีการจำลองพระเจ้าพาราละแข่งมาประดิษฐาน ณ วัดหัวเวียง และ นิยามให้มีสถานะเป็นพระพุทธรูปประจำเมือง อย่างไรก็ดี เนื่องจากเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนชาวไตที่อยู่ในพระราชอาณาจักรสยาม และเติบโตขึ้นในช่วงเวลาของ การสร้างรัฐชาติ ส่งผลให้การนิยามความหมายของพระเจ้าพาราละแข่งแห่งเมือง แม่ฮ่องสอน ถูกนำไปเชื่อมโยงกับความเป็นไทย และตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นต้นมา พบว่ามีความพยายามในการรื้อฟื้น และสร้างพิธีกรรมเกี่ยวกับองคพ์ ระ โดยเฉพาะ พิธีถวายนํ้าสรงพระพักตร์ซึ่งสัมพันธ์กับพิธีกรรมถวายนํ้าสรงพระพักตร์พระเจ้า พาราละแข่งองค์จริงที่เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าศึกษา ต่อไป
References
ชาตรี ประกิตนนทการ. (๒๕๕๑). พระพุทธชินราชในประวัติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์.กรุงเทพฯ : มติชน.
เทย์เลอร์, โรเบิร์ต เอช. (๒๕๕๐). รัฐในพม่า. (พรรณงาม เง่าธรรมสาร,สดใส ขันติวรพงษ์ และ ศศิธร รัชนี ณ อยุธยา, แปล). กรุงเทพฯ : โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ธรรศ ศรีรัตนบัลล์. (๒๕๕๓). ไทยใหญ่แม่ฮ่องสอน : การสรรค์สร้างความเป็นไทยใหญ่ จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยใหญ่เดิมและไทยใหญ่พลัดถิ่น.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, บัณฑิต
วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธิดา สาระยะ. (๒๕๕๔). มัณฑะเล นครราชธานีศูนย์กลางแห่งจักรวาล.พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.
เมี้ยวหวุ่นหลอยโหลงลุงอูมู. (๒๐๑๓). หย่าจะหว่างเมิงสี่ป้ออุงป่อง. ย่างกุ้ง :หมอกกู่สร้อยแหลง.
วราภรณ์ เรืองศรี. (๒๕๕๗). คาราวานพ่อค้าทางไกล: การก่อเกิดรัฐสมัยใหม่ในภาคเหนือของไทยและดินแดนตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.เชียงใหม่: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (๒๕๕๑). ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ :อัมรินทร์.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๕๗). ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ : มติชน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ