น้ำศักดิ์สิทธิ์ : การสร้างเครือข่ายสังคมล้านนา

ผู้แต่ง

  • โฆษิต ไชยประสิทธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

ความเชื่อเกี่ยวกับศาสนากับความเชื่อเกี่ยวกับ “นํ้า” ผ่านสัญญะต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อไทยโบราณ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาช้านานแล้ว และยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งๆ ที่สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยหรือสมัยใหม่ ยิ่งไปกว่านั้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การศาสนาผ่านการใช้นํ้าเป็นสัญลักษณ์แห่งพลัง และความศรัทธาสู่ “พลังแห่ง น้ำศักดิ์สิทธิ์” ที่มีอิทธิพลต่อประชาคมและสังคมอย่างกว้างขวางในสังคมล้านนา ทั้งนี้มีสาเหตุหลายประการ ที่นำสู่ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของ คนไทยในปัจจุบันโดยสามารถกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจที่มุ่งสู่การแข่งขัน การให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ผ่านอำนาจเงินตรา ในปัจจุบัน ส่งผลให้สภาพจิตใจของคนในสังคมเกิดความสับสน ขาดสิ่งยึดเหนี่ยว ในจิตใจ ซึ่งสาเหตุนี้เองได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับ เรื่องนํ้า ยังคงมีบทบาทต่อสภาพจิตใจของคนล้านนา รวมถึงยังสามารถเป็น ตัวเชื่อมร้อยกลุ่มคนให้ยังคงความเหนียวแน่นในสังคมระดับกลางจนถึงล่าง ผ่านรูปแบบพิธีกรรมต่างๆ ในการใช้ “นํ้าศักดิ์สิทธิ์” เป็นตัวเชื่อมรัดวิถีของ คนล้านนาให้ยังคงอยู่ในรูปแบบกลุ่มจากอดีตจนถึงในปัจจุบัน

References

กาญจนา แก้วเทพ. เครื่องมือการทำงานแนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ :สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา, ๒๕๓๘

กาญจนา แก้วเทพ. สื่อส่องวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๓๙

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. สื่อเพื่อชุมชน การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพฯ :สำนักงานกองทุนสนับสนุนเพื่อการวิจัย, ๒๕๔๓

กาญจนา แก้วเทพ. ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทเอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด, ๒๕๔๔

จารุณี ปัญควณิช. ผีเจ้านาย สื่อสัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชน จังหวัดลำพูน,รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มปป.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. คติชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : ครุสภา, ๒๕๒๘

ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๔

ฉลาดชาย รมิตานนท์. ผีเจ้านาย. เชียงใหม่: พายัพ ออฟเซท พรินท์, ๒๕๒๗

ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์. แหล่งนํ้าศักดิ์สิทธิ์เมืองนคร, สารนครศรีธรรมราชปีที่ ๓๕ ฉบับที่ ๓ (มีนาคม ๒๕๔๘). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

ทวีศักดิ์ ใครบุตร. เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาบาลีเพื่อการค้นคว้าพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง,๒๕๕๘

พระพีรวัฒน์ ปภาโส และนายนภดล เดียวตระกูล. ดอยขะม้อ บ่อนํ้าศักดิ์สิทธิ์, เอกสารอัดสำเนา. มปท. มปป.

มรรยาท กิจสุวรรณ. คติความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย. กรุงเทพฯ : วัฒนธรรมไทย,๒๕๒๖

ยศ สันตสมบัติ. ความหลากหลายทางชีวภาพมิติทางสังคมและนิเวศ.กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, ๒๕๓๗

ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์. ศาสนวิทยาและศาสนายุคโพสท์โมเดิร์น. กรุงเทพฯ :สถาบันศาสนวิทยา มูลนิธิพันธกิจชุมชน, ๒๕๕๘

สัมฤทธิ์ สุภามา. บทบาทเจ้าพ่อกวน เจ้าแม่นางเทียมต่อชุมชน : กรณีอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฏเลย, ๒๕๔๔

สายไหม จบกลศึก. การเสกนํ้าพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐, หนังสือน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐. แหล่งอ้างอิงออนไลน์ http ://eservices.
dpt.go.th/eservice_6/ejournal/35/35-01.pdf?journal_edition=35

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐

สุภางค์ จันทวานิช. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๘

สุวิทย์ มาประสงค์. ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริบทการเปลี่ยนแปลงกับการปรับความสัมพันธ์ของคนในสังคม. แหล่งข้อมูลออนไลน์ : http ://www.ysl-history.com/Synthesis/004.doc, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙

สุเทพ สุนทรเภสัช. ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย : พื้นฐานแนวความคิด ทฤษฎีทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โกบอลวิชั่น, ๒๕๔๐

แสงสูรย์ ลดาวัลย์. พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์, หนังสือชุดราชประเพณีไทย. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, มปป. แหล่งข้อมูลออนไลน์ : www.pr.moi.go.th สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙

อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ และคณะ. ชุมชน ความทรงจำ และพิธีกรรมกับการจัดการชุมชน, สรณัฐ ไตลังคะ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๕๘

แหล่ง “นํ้าศักดิ์สิทธิ์ นํ้าอภิเษก” ในภาคเหนือ เพื่อพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.แหล่งข้อมูลออนไลน์ : https ://www.chiangmainews.co.th/page/archives/896444 สืบค้นเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒

แหล่งนํ้าศักดิ์สิทธิ์สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. แหล่งข้อมูลออนไลน์ : http ://www.prachachat.net/d-life/news-278418 สืบค้นเมือวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย