ผู้สูงวัย และ ตุงไส้หมู : การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นวัดเกต

ผู้แต่ง

  • สุรเดช ลุนิทรานนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ เป็นบทความเชิงการทบทวนเอกสารร่วมกับการนำเสนอ ส่วนหนึ่งของผลการดำเนินโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชุมชน ซึ่งผู้เขียน พยายามถ่ายทอดถึงสถานการณ์ของผู้สูงอายุในสังคมไทยที่ก้าวสู่ภาวะสังคม สูงวัยอย่างสมบูรณ์ การเปลี่ยนผ่านทางด้านสถานภาพจากผู้ขับเคลื่อนทาง เศรษฐกิจและความเป็นไปในสังคมและวัฒนธรรมเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงทางสังคมของ ผู้สูงอายุนั้น เป็นการรับรู้ในสังคมที่ผิดพลาดหรือเหมารวมเกินไปหรือไม่ต่อ การทำความเข้าใจตัวตนของผูสู้งอายุและภาวะของสังคมสูงวัยในปัจจุบัน เราจะ พบว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นในสังคมไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากแต่ เป็นสถานการณ์ที่นานาประเทศกำลังเผชิญกับการเข้าสู่สังคมสูงวัย ด้วยปัจจัย มากมายที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดที่ลดลง เทคโนโลยีและความก้าวหน้าทาง การแพทย์ที่ส่งผลต่อความยืนยาวของชีวิตในสังคมสมัยใหม่มากขึ้น ย่อมส่งผล ต่อทิศทางทางการพัฒนาและการดำรงอยู่ของประชากรในแต่ละประเทศอย่าง มิอาจหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม สถานภาพของผูสู้งอายุที่มีศักยภาพต่อการดำเนินกิจกรรม ทางสังคมยังมีให้ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มผูสู้งอายุ การเป็นอาสาสมัคร หรือการเป็นตัวแทนชุมชนในการดำเนินกิจกรรมทางประเพณีและศาสนา ซึ่ง ศิลปวัฒนธรรมที่ผู้สูงอายุได้ดำเนินการเหล่านี้ได้กลายเป็นพื้นที่ทางสังคม ที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้แสดงความรู้ ความสามารถ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่แห่ง การร้อยรัดช่วงวัยต่างๆ ของชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน เมื่อมองผ่าน “ตุง” สัญลักษณ์ ทางภูมิปัญญา/ศิลปวัฒนธรรมแห่งล้านนา เรากลับพบถึงวิถีชีวิตของผู้สูงวัย และพื้นที่ทางสังคมที่เชื่อมโยงคนในแต่ละช่วงวัยอย่างน่าสนใจ สิ่งนี้อาจจะเปิด พื้นที่ของความเข้าใจผู้สูงอายุที่มักผูกขาดอยู่กับคำว่า “พึ่งพิง” หรือ “ภาระ” มาสู่ “คุณค่า” ไม่มากก็น้อย

References

โครงการการจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุไทย. (๒๕๕๓). หลักการและเหตุผลการจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุไทย. สืบค้น เมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ จาก โครงการการจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุไทยสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https ://www.stou.ac.th/study/km/poompunya/index.html

จารุวัตร กลิ่นอยู่.“ตุง” ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ. สืบคน้ เมื่อ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ จากhttp ://www.stou.ac.th/study/projects/training/text/4/page1-8-50(500).html

จุฑารัตน์ แสงทอง. (๒๕๖๐). สังคมผูสู้งอายุ (อย่างสมบูรณ์) : ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล, ๓๘(๑), ๖-๒๘.

ฉัตรชัย นกดี. (๒๕๖๐). ปี ๖๑ ไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ https ://www.thaihealth.or.th/Content/37506-ปี%2061%20ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ.html

ชไมพร พรเพ็ญพิพัฒน์. (๒๕๔๖). “ตุง” มรดกแผ่นดินล้านนา. กรุงเทพฯ :ด่านสุทธาการพิมพ์.

ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง. (๒๕๔๙). เมืองเชียงใหม่ยั่งยืน : แนวคิดและประสบการณ์ของย่านวัดเกต. พิมพ์ครั้งที่ ๑ เชียงใหม่ : หจก.เชียงใหม่ โรงพิมพ์แสงศิลป์.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากูล. (๒๕๔๘). “ตุง” หนึ่งในสัญลักษณ์แห่งล้านนา.สืบค้นเมื่อ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ จาก วาไรตี้ท่องเที่ยว ผู้จัดการออนไลน์ http ://mgronline.com/travel/detail/9480000052657

ประเภทของภูมิปัญญา. (มปป.). สืบค้นเมื่อ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ จาก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย http ://www.ipesp.ac.th/learning/thaistory/content4.html


ผาณิต ไคร้มูล. (๒๕๕๗). ประวัติตุงล้านนา. สืบค้นเมื่อ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ จาก My Blogger : Phanit Krimoon http ://phanit-krimoon.blogspot.com/2014/04/TungLanna๒.html?m=1

ผานิตดา ไสยรส. (๒๕๕๙). สังคมสูงวัย. ใน วสันต์ ปัญญาแก้ว , ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมวิทยา (๑๒๔-๑๔๑). เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.

มณี พยอมยงค์ และ ศิริรัตน์ อาศนะ. (๒๕๓๖). เครื่องสักการะในล้านนาไทย.เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.

มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น. (๒๕๓๙). ตุงทางภาคเหนือของไทย. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

มัลลิกา ทาหมี และคณะ. (๒๕๕๗). ตามฮีตโตยฮอย ตุงล้านาผะหญ๋าคนเมือง.เชียงใหม่ : โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผูสู้งอายุไทย. (๒๕๕๙). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ.๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

วาณี เอี่ยมศรีทอง และคณะ. (๒๕๔๒). ตุง : ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นอาชีพ. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรเดช ลุนิทรานนท์ และคณะ. (๒๕๖๑). เสริมสร้างสุขภาวะคนจนเมืองเพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุพื้นที่เชียงใหม่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

Kattika Thanakwang, Sang-arun Isaramalai and Urai Hatthakit. (2014).Thai Cultural Understandings of Active Ageing from the Perspectives of Older Adults : A Qualitative Study. Pacific Rim Int J Nurs Res.,18(2), 152-165.

Mujaju, C., Zinhanga, F. & Rusike, E.. (n.d.). WHY IS LOCAL KNOWLEDGE IMPORTANT?. Retrieved January 28, 2019, from http ://www.fao.org/3/y5610e/y5610e02.htm

Pakin Witchayakawin and Wasan Tengkuan. (๒๐๑๘). Community-Based Tourism Development and Participation of Ageing Villagers in Ban Na Ton Chan, Thailand. International Journal of Mechanical and Production Engineering Research and Development (IJMPERD),8(3), 969-976.

Tomczyk, Ł., Klimczuk, A. (2015). Aging in the Social Space. Białystok-Krakow : The Association of Social Gerontologists.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-09-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย