หอศาสตราแสนเมืองฮอม : พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้อาวุธโบราณล้านนา ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวชาติพันธุ์ไทและบ่อเหล็กเมืองลอง

ผู้แต่ง

  • ภูเดช แสนสา พิพิธภัณฑ์หอศาสตราแสนเมืองฮอม

บทคัดย่อ

การก่อตั้งหอศาสตราแสนเมืองฮอม มาจากแรงบันดาลใจในเบื้องต้น ที่ได้พบเห็นอาวุธเหล็กลองโบราณมาตั้งแต่จำความได้ ทั้งมรดกของเก่าเก็บ ที่บ้านและอาวุธโบราณที่ใช้ในพิธีกรรมของชุมชน และภายในชุมชนยังเป็น ที่ตั้งของแหล่งโลหะกรรมเหล็กโบราณ ทั้งบ่อเหล็กเมืองลอง เตาถลุงเหล็ก ลองโบราณ และเตาตีอาวุธเครื่องมือเครื่องใช้เหล็กลอง อีกทั้งตระกูลผู้ก่อ ตั้งก็สืบเชื้อสายมาจากอดีตแม่ทัพคนหนึ่งของเมืองลอง ที่เคยเป็นหัวเมือง หน้าด่านด้านทิศตะวันออกของอาณาจักรล้านนาและเมืองนครลำปาง และ ผู้ก่อตั้งได้มีโอกาสได้เรียนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวโบราณของเมืองลอง ที่สืบทอดมาจากอดีตแม่ทัพเมืองลองคนสุดท้าย จึงเป็นแรงบันดาลใจ อย่างแรงกล้าให้เริ่มสะสมอาวุธโบราณมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๖ เมื่อมีจำนวนมาก พอสมควรได้เริ่มจัดแสดงไว้ภายในบ้านตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๒ ใช้ชื่อว่า “เฮือนแสน เมืองฮอม” จนกระทั่งไดรั้บความสนใจมีผู้เข้าเยี่ยมชมมากขึ้น จึงได้ปรับยุ้งข้าวเก่า ของคุณตา (สิบตรีศรีมูล มารยาทประเสริฐ) ให้เป็นอาคารจัดแสดงใช้ชื่อว่า “หอศาสตราแสนเมืองฮอม” ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ขณะเดียวกันก็ได้ก่อสร้างอาคารจัดแสดงขึ้นใหม่อีก ๑ หลังทำพิธีขึ้น หอพิพิธภัณฑ์หลังใหม่นี้เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ นามของหอพิพิธภัณฑ์ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึง “เจ้าใหม่แสนเมืองฮอม” ผู้เป็น ต้นตระกูล และเพื่อเปรียบเปรยว่าเป็นแหล่งรวบรวมอาวุธโบราณ เครื่องราง ของขลังศิลปะการต่อสู้ ตลอดจนองค์ความรู้ จากหลายบ้านหลายเมือง มาฮอม (รวม) กันโดยมีแนวคิดเปิดให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต คนภายในชุมชน และจากที่ต่างๆ สามารถทำกิจกรรมได้ เป็นตัวกลางเชื่อมคนหลากหลายวัย ภายในชุมชน และระหว่างคนในชุมชนกับคนจากภายนอกให้มาทำกิจกรรมร่วมกัน อาวุธโบราณบางส่วนผู้เข้าชมสามารถสัมผัสจับต้องได้ มีกิจกรรม การตีเหล็กทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ โดยมีคนในชุมชนเป็นผู้ทำและ ฝึกสอน มีสาธิตและฝึกสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเช่น ฟ้อนหอก ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนไม้ค้อน และปรับประยุกต์การฟ้อนเจิง เพื่อการบำบัดและเพื่อ สุขภาพ จึงเป็นที่มาของคำจำกัดความของหอศาสตราแสนเมืองฮอมว่า “พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้อาวุธโบราณล้านนา ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวชาติพันธุ์ไท และบ่อเหล็กเมืองลอง”

References

แผ่นพับหอศาสตราแสนเมืองฮอม หอผ้าสาปันดี. เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๖๐.

แผ่นพับหอศาสตราแสนเมืองฮอม. เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๖๑.

แผ่นพับเหล็กดี เหล็กเมืองลอง. เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๖๑.

แผ่นพับไหว้สาผีขุนนํ้าแม่ลอง. เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๖๑.

แผ่นพับดาบล้านนา. เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๖๑.

ภูเดช แสนสา. ประวัติศาสตร์เมืองลอง หัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศ.เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์, ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา .(บรรณาธิการ). เมืองลอง. เชียงราย : ล้อล้านนา, ๒๕๕๕.

ภูเดช แสนสา. ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์,๒๕๕๕.

ภูเดช แสนสา. ประวัติวัดพระธาตุไฮสร้อย วัดหลวงกลางเวียง เมืองลอง.แพร่ : เมืองแพร่การพิมพ์, ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา. วัดนาตุ้มแก้วกว้าง หางเมืองลอง. เชียงใหม่ : ศิริวัฒนากราฟฟิค,๒๕๖๐.

ภูเดช แสนสา. ศรีมูลาลัย. เชียงใหม่ : แม็กซ์พริ้นท์ติ้ง, ๒๕๕๘.

สัมภาษณ์แม่บุญเรือง มารยาทประเสริฐ (หลานเจ้าน้อยศรีสองเมือง เจ้าจันทน์คำณ ลำปาง) อายุ ๘๑ ปี บ้านเลขที่ ๔๔/๒ หมู่ที่ ๒ ซอย ๓ เจ้าพ่อขุนนํ้าบ้านนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑

สัมภาษณ์พ่อน้อยแสน โค้ด้วง (ตำแหน่งพ่อเมืองลองผู้นำทำพิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็กเมืองลองคน) บ้านเลขที่ ๔๔/๑ หมู่ที่ ๒ บ้านนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒

สัมภาษณ์พ่อหนานอุ่นเรือน อินดี อายุ ๙๐ ปี (จํ้าข้าวผีขุนนํ้าแม่ลอง)บ้านเลขที่ ๓๔ หมู่ที่ ๒ บ้านนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-09-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย