คติพระธาตุเจดีย์ในดินแดนล้านนา
บทคัดย่อ
ล้านนาหรือภาคเหนือตอนบน เป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเผยแผ่เข้ามาตั้งมั่นที่เมืองหริภุญไชยและ แคว้นหริภุญไชยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ และพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ เผยแพร่เข้ามาตั้งมั่นที่เมืองเชียงใหม่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ทำให้ เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาอยู่ในดินแดนล้านนาและ ใกล้เคียงด้วยเหตุนี้จึงปรากฏมีพระธาตุเจดีย์สำคัญๆ ตามเมืองต่างๆ เป็นจำนวนมาก บทความนี้เป็นผลการวิจัยในช่วงเวลาที่ผ่านมาพบว่าคติการสร้าง พระธาตุเจดีย์สำคัญในล้านนามีอยู่ ๓ รูปแบบคือ (๑). คติพระธาตุเจดีย์สำคัญเป็นหลักอยู่ในตัวเวียงมีหลักฐานชัดเจน ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองหริภุญไชยคือพระธาตุหริภุญไชยคงได้รับอิทธิพล ด้านรูปแบบและคติความเชื่อมาจากวัฒนธรรมทวารวดีของกลุ่มบ้านเมือง ในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาคติดังกล่าวทำให้ปรากฏพระธาตุในเมืองต่างๆ ในสมัยหริภุญไชย อาทิพระธาตุเจดีย์วัดชมพูหรือพระธาตุดอนเต้าในเมือง เขลางค์นคร (ลำปาง) และพระธาตุลำปางหลวง ในเมืองลำพาง (ลำปาง) หรือลัมภกัปปนคร พระธาตุมิ่งเมืองในเมืองแพร่ และในสมัยล้านนา เช่น พระธาตุเจดีย์วัดปงสนุกหรือพระธาตุศรีจอมไคลเมืองนครลำปาง พระธาตุเจดีย์ ช้างคํ้าวัดหลวงกลางเวียงหรือวัดช้างคํ้าเมืองน่าน พระธาตุดอยจอมตอง วัดดอยตอง เมืองเชียงราย และพระธาตุหลวงวัดหลวงหรือวัดเจดีย์หลวงเมืองเชียงแสน (๒). คติพระมหาธาตุกลางเมืองเป็นคติที่สร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้นเป็นหลัก หรือเป็นศูนย์กลางของเมืองหรือศูนย์กลางจักรวาลคงเริ่มต้นมาตั้งแต่ราว พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ โดยเฉพาะในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง ที่เรียกว่า “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ” หรือเรียกอย่างย่อๆ ว่า “วัดมหาธาตุ”แต่คติพระมหาธาตุกลางเมืองได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในล้านนาในตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๐ คือพระบรมธาตุเจดีย์วัดสวนดอกเมืองเชียงใหม่และ พระธาตุเจดีย์หลวงกลางเวียงเชียงใหม่ (๓). คติพระธาตุเจดีย์บนยอดดอย คติการสร้างพระธาตุเจดีย์บนยอด ดอยนั้นเป็นวัฒนธรรมและคติความเชื่อของมอญหรือพม่า ซึ่งพระสุมนเถระ ซึ่งเคยไปบวชแปลงและเรียนในสำนักพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่เมืองพันหรือ เมาะตะมะได้นำเข้ามาปรากฏขึ้นครั้งแรกคือ พระธาตุดอยสุเทพเมืองเชียงใหม่ และเป็นต้นแบบของพระธาตุเจดีย์บนยอดดอยที่ปรากฏแพร่หลายเป็นที่นิยมอยู่ ในดินแดนล้านนาทุกวันนี้ เช่น พระธาตุจอมกิติ เมืองเชียงแสน พระธาตุจอมทอง เมืองพะเยา พระธาตุดอยน้อย เมืองน่าน พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ พระธาตุ- ม่อนพระแช่ เมืองนครลำปาง และพระธาตุกองมู เมืองแม่ฮ่องสอน รวมทั้ง พระธาตุเจดีย์ของบ้านเมืองเล็กเมืองน้อยและชุมชนต่างๆ ในเขตภาคเหนือตอนบน จะปรากฏมีพระธาตุเจดีย์ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยเท่าที่ตรวจสอบรายชื่อ ของพระธาตุมีจำนวนถึง ๖๖ แห่ง
References
คณะกรรมการค้นคว้าวิจัยประวัติพระธาตุดอยตุง “ตำนานพระธาตุดอยตุง”ประวัติพระธาตุดอยตุง, กรุงเทพฯ : มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงและธนาคารไทยพาณิชย์จัดพิมพ์, ๒๕๓๖.
ตำนานพระบรมธาตุดอยสุเทพฯ, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายพลตรี เจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่, มปป. ๒๔๘๒.
พระยาประชากิจกรจักร พงศาวดารโยนก, พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๐๔.
พระรัตนปัญญาเถระ (ร.ต.ท.แสง มนวิทูร แปล), ชินกาลมาลีปกรณ์,กรมศิลปากรจัดพิมพ์, พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร, ๒๕๐๑.
ศรีศักรวัลลิโภดม, ความหมายพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ,กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๓๙.
สงวน โชติสุขรัตน์ “ตำนานวัดเจดีย์หลวงในเมืองนพบุรีนครเชียงใหม่” ประชุมตำนานลานนาไทย เล่ม ๒, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรบริการ, ๒๕๑๕.
สุรพล ดำริห์กุล, เจดีย์ช้างล้อมกับประวัติศาสตร์บ้านเมืองและพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในประเทศไทย, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
สุรพล ดำริห์กุล, “พระธาตุดอยตุงกับวัฒนธรรมการนับถือพระธาตุในดินแดนล้านนา” แผ่นดินล้านนา, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ,๒๕๓๙.
เสถียร พันธรังษี และ อัมพร ทีขะระ ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง เรียบเรียงจาก Temples and elephants by Carl Bock ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม ๒๕๒๙.
G Coedes, Documents sur L’ Histoire du Laos Occidental, Hanoi : Etreme-Orient, 1925.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ