เครื่องง้า เครื่องประดับอลังการ
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการประดับตบแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ มีความหลากหลาย ด้วยเหตุความจำเป็นในการดำรงชีวิต หรือเกิดจากความชอบของผู้ตกแต่ง ทำให้เครื่องประดับที่มีอยู่ทั่วไปแทบจะแยกไม่ได้ว่าเป็นของชาติพันธุ์ใดทั้งยัง ขาดความเข้าใจในความเป็นมาหน้าที่การใช้งาน รวมไปถึงความเหมาะสมในการ ประดับกายให้ถูกต้องตามกาลเทศะ บทความเรื่องเครื่องง้า เครื่องประดับอลังการ ผู้เขียนได้รวบรวมประวัติ ความเป็นมาของเครื่องประดับที่มีความสำคัญตั้งแต่อดีต ประกอบด้วย เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับคอ (เครื่องง้า) เครื่องประดับแขน (ม้าวแขน) เครื่องประดับนิ้ว เครื่องประดับเท้า (ว้องตีน) เครื่องประดับหู (เครื่องแง้) เครื่องประดับเอว (สายแอว) จากการศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิชาการ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องในการประดับเครื่องประดับ ตบแต่งร่างกาย อีกทั้งยังให้ทราบถึงคำเรียกชื่อของเครื่องประดับที่บรรพชนได้สร้างขึ้นนำมาซึ่ง ความรู้ ความเข้าใจในประวัติความเป็นมา ลักษณะรูปแบบ สีสัน ความศรัทธา ที่ละเอียดอ่อนความหมายที่ให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของงานหัตถศิลป์อันทรง คุณค่า ควรค่าต่อการอนุรักษ์ สืบทอดความดีงามผลงานอันทรงคุณค่าไว้คู่ แผ่นดินล้านนา จากผลการศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเครื่องง้า อลังการพบว่าในสมัยก่อน ชนชั้นสูงเท่านั้นที่จะสามารถสวมใส่เครื่องประดับมีค่าได้ สามัญชนไม่สามารถ แต่งกายเหมือนเจ้านายได้ ทำให้เครื่องง้า เครื่องประดับ บางตำราออกเสียงเป็น เครื่องผะดับ ไม่ได้มีการแพร่หลายสู่สามัญชน ในปัจจุบันระบบการเมือง การปกครองได้ปรับเปลี่ยนตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่พระองค์ท่านได้ปรับเปลี่ยนการแต่งกายของข้าราชการ ทำให้ เครื่องประดับได้เผยแพร่สู่ขุนนาง และสามัญชน ทุกคนสามารถสวมใส่เครื่องประดับตามความเหมาะสมกับฐานะของตนเอง เครื่องง้าอลังการ จึงเปลี่ยน สถานภาพการใช้งานจากชนชั้นสูงสู่สามัญชน ที่เท่าเทียมกันในสิทธิการใช้ ประดับร่างกาย ตามสถานภาพทางด้านความงาม การเงิน และความเหมาะสม กับสถานภาพของตนเอง แต่ยังคงคุณค่าของผลงานวิจิตรปราณีต ด้วยเหตุผล การที่เรียกชื่อเครื่องประดับตามสมัยนิยมในปัจจุบัน ทำให้คำว่า เครื่องง้า ได้เลือนหายไปจากคำเรียกขาน ดังนั้นเพื่อเป็นการให้ผู้ที่สนใจในงานเครื่องประดับ ได้ทราบถึงแหล่งที่มาของบรรพบุรุษที่สร้างสรรค์ผลงานที่ทรงคุณค่ามีความหมาย ที่มา ผู้นำเสนอบทความจึงนำเสนอความสำคัญของเครื่องง้าอลังการผ่านข้อมูล ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามา
References
วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ๒๕๔๗. ครัวหย้องของงาม แม่ญิงล้านนา. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพจน์ ใหม่กันทะ. ปิ่น...ด้วยเกล้าเหนือหัว. ในเวียงเจ็ดลิน, ปีที่ ๒ ฉบับที่, ๒๕๕๕.
อินทร ์ สุใจ. เครื่องง้า. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ ธนาคารไทยพาณิชย์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ