คนไทย..ที่ขอบฟ้าตะวันตก

ผู้แต่ง

  • ชวนพิศ นภตาศัย นักวิชาการอิสระ

บทคัดย่อ

เมืองเมียวดี เป็นหัวเมืองตะวันออกอีกแห่งหนึ่งของพม่า ที่มีเศรษฐกิจดี เนื่องจากเป็นเมืองชายแดนที่ติดกับประเทศไทย ในชนบทรอบๆ เมืองเมียวดี มีชุมชนคนล้านนาอยู่หลายหมู่บ้านซึ่งยังคงดำรงชีวิตเหมือนชาวล้านนา ในประเทศไทย ทั้งการใชภ้ าษา อาหารการกิน ประเพณี ความเชื่อ และศิลปวัฒนธรรม ชาวล้านนาในเขตเมียวดี เรียกตัวเองว่า “คนไต” ซึ่งมีบรรพชนอพยพไปจาก ภาคเหนือของไทยเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา คณะวิจัย เดินทางไปจากเชียงใหม่ ๕ คน มีผู้นำทางจากแม่สอดอีก ๑ คน เดินทางเข้าไปบ้านห้วยส้าน ชุมชนคนไทยวนที่ใหญ่ที่สุดในเขตเมียวดี เพื่อร่วมวางแผนจัดงานวันชาติไท ครั้งที่ ๑๗ ที่จะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ คณะวิจัยมีโอกาสได้ไปร่วมงานฝังศพนายพลลุลา นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของ กองกำลังรักษาชายแดนรัฐกะหยิ่น (รัฐกะเหรี่ยง) และได้ไปเยี่ยมเยือนชาวไทยวน ที่อยู่บ้านล้องบ้านท่าซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองกุกกิก ห่างจากเมืองเมียวดีไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทราบข้อมูลจากชาวบ้านว่า ยังมีชุมชนไทยวนอยู่ในเขต รัฐกะหยิ่นอีกหลายหมู่บ้าน ในเขตที่ห่างจากเมียวดีไปในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งชาวไทยยวนเหล่านั้นจะมาร่วมงานวันชาติไทที่กำลังจะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๑๗ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐ ก่อนเดินทางกลับเชียงใหม่ คณะวิจัยมีโอกาส ร่วมงานบุญประเพณีประจำปี คืองานบุญข้าวหลาม เดือน ๔ และงานถวายทาน หลัวหิงหนาวพระเจ้า

References

การวิจัย “การธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนาของชาวไทยวนพลัดถิ่นเมืองเมียวดี ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา” โดยพระนครปัญญาวชิโร หัวหน้าโครงการวิจัย อยู่ในะหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อส่งเสริมการวิจัยด้านวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐ ของ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม

นคร ปัญญาวชิโร (ปรังฤทธิ์), พระ. ๒๕๕๙. วิถีล้านนาใต้ฟ้าเมียวดี. เชียงใหม่.โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาประเทศเพื่อนบ้าน ฝ่ายวิชาการและวิจัย สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

โครงการพัฒนาทางหลวงเอเชีย. วารสารทางหลวง ปีที่ ๔๘ ฉบับที่ ๓ พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๕๔ (ทางหลวงเอเชียสาย AH ๑ : ชายแดนกัมพูชา-อรัญประเทศ-กรุงเทพฯ (แยกบางปะอิน) -นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด-สะพานมิตรภาพไทย-พม่า รวม ๗๑๕.๕ กม.)

โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง,สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (มหาชน). “กะลันทา, ไม้หนาม,คนทา, สีฟันคนทา”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).

สัมภาษณ์จายวินหม่อ อายุ ๓๐ ปี ผู้นำเยาวชนบ้านห้วยส้าน

สัมภาษณ์แม่จันทร์สม วงศ์เครือ อายุ ๖๔ ปี ชาวบ้านห้วยส้านฃ

สัมภาษณ์พ่อน้อยแก้ว อายุ ๖๗ ปี ชาวบ้านห้วยส้าน

สัมภาษณ์พ่อน้อยคำ อายุ ๖๑ ปี ชาวบ้านห้วยส้าน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2017

ฉบับ

บท

บทความวิจัย