การสร้างถิ่นฐาน บ้าน และเรือนคนไทดำ ไทขาวในเวียดนาม

ผู้แต่ง

  • ฐาปนีย์ เครือระยา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

ท่ามกลางความแตกต่างกันของเชื้อชาติ ที่ถูกแบ่งด้วยเส้นกั้นพรมแดน รัฐชาติ ทำให้ชนชาติพันธุ์ไทหลายๆ กลุ่ม ถูกตัดขาดสายสัมพันธ์ระหว่างกัน ด้วยการก่อเกิดของประเทศชาติต่างๆ ในแถบอุษาคเนย์นี้เองที่ทำให้เกิดอุดมการณ์ ความเปน็ รัฐมากลบกลืนความเปน็ เชื้อชาติไทไปแม้ว่ารัฐจะแบ่งแยกความเป็นชาติ ออกจากกัน แต่ความสัมพันธ์ของเชื้อชาติไทที่อยู่ในประเทศต่างๆ ในแถบเอเชีย อาคเนย์นั้น กลับไม่สามารถแบ่งแยกความเชื่อและความเป็นไทได้ เพราะคนไท ในทุกประเทศจะมีรากฐานของภาษาและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่คล้ายคลึงกัน ไทดำ และไทขาวหรือไทด่อน เป็นคนไทกลุ่มหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทาง ตอนเหนือของเวียดนามและลาว อยู่ในเขตสิบสองจุไท ซึ่งมาจากการประกอบ เข้าด้วยกันของเมืองคนไท ๑๒ เมือง แบ่งเป็นกลุ่มไทดำ ๘ เมือง และไทขาว ๔ เมือง โดยเรียกชื่อตนเองตามเมือง หรือแม่น้ำที่อาศัยอยู่ เช่น ไทเมืองแถน ไทเมืองม่วย ไทเมืองวาด ไทดำ เป็นกลุ่มไทดั้งเดิมที่อยู่อาศัยคือลุ่มแม่น้ำดำ เรียกตัวเองว่า ไทดำ ส่วนไทขาว เชื่อว่าเป็นชาวไทดำมีเชื้อสายผสมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ตั้งถิ่นฐาน อยู่ทางตอนใต้ของเมืองเดียนเบียนฟู แต่ในช่วงอาณานิคม ชาวยุโรปกลับแบ่ง กลุ่มตามสีสันของเครื่องนุ่งห่มที่สวมใส่ จึงกลายเป็นกลุ่มที่ใส่ผ้านุ่งสีดำ คือไทดำ และนุ่งผ้าสีขาวหรือสีอ่อนคือไทขาวตั้งแต่นั้นมา ไทขาวและไทดำ มีจุดร่วมทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะ การสร้างถิ่นฐาน ครอบครัว และชุมชน ที่อาศัยอยู่ตามเส้นทางแม่น้ำดำ อันเป็น สายน้ำใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทมานาน บทความนี้เรียบเรียงจากข้อสังเกต ในการสำรวจพื้นที่เมือง และหมู่บ้านของกลุ่มไทดำเมืองเดียนเบียนฟู และ ไทขาวเมืองไมโจว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด ความเชื่อ สภาพแสดล้อมที่ส่งผลต่อการภูมิปัญญาของชาวไทดำ และไทขาว ในการสร้างหมู่บ้าน และเรือนที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตรวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งพบว่าทั้งชาวไทดำและไทขาวนิยมสร้างเรือนไม้ยกพื้นสูง ใช้วัสดุในท้องถิ่น ที่หาได้ง่าย มีพื้นที่ใช้สอยภายในเรือนสอดคล้องกับวิถีชีวิต แต่เรือนของ ชาวไทขาวพบว่าไม่มีพื้นที่ห้องผีชัดเจนมากนักเมื่อเทียบกับชาวไทดำ อีกทั้ง ผังเรือนชาวไทขาวมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยได้หลากหลายกว่าชาวไทดำ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับแนวคิดความเชื่อของชาวไทขาวที่เริ่มมีการผสมผสาน กับวัฒนธรรมอื่น จึงเกิดการยืดหยุ่นมากกกว่าชาวไทดำ

References

กัญญา ลีลาลัย. ๒๕๔๔. ประวัติศาสตร์ชนชาติไท. กรุงเทพ : สถาบันวิถีทัศน์.

คำจอง. ๒๕๓๗. ประวัติศาสตร์และเอกสารไทดำในเวียดนาม. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และพิเชฐ สายพันธ์ บรรณาธิการ. ๒๕๕๓. ทฤษฎีบ้านเมืองศาสตราจารย์คำจอง กับการศึกษาชนชาติไท. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

ภัททิยา ยิมเรวัต. ๒๕๔๔. ประวัติศาสตร์สิบสองจุไท. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์ จำกัด.

ยุกติ มุกดาวิจิตร. ๒๕๕๗. ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

วีระ อินพันทัง, ต้นข้าว ปาณินท์, อภิรดี เกษมศุข, โชติมา จตุรวงค์. ๒๕๔๗.สรุปผลงานวิจัยโครงการส่งเสริมกลุ่มวิจัย สกว. โครงการภูมิปัญญาพัฒนาการ และความสัมพันธ์ระหว่างกันของเรือนพื้นภิ่นไทย-ไท : คุณลักษณะของสถาปตั ยกรรมสิ่งแวดลอ้ มในเรือนพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ :คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภางค์ จันทวนิช และจารุวรรณ พรมวัง ขำเพชร. ๒๕๓๘. การศึกษาวัฒนธรรมชนชาติไทย. กลุ่มชาติพันธุ์ไทขาว. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

สุมิตร ปิติพัฒน์. ๒๕๔๕. ศาสนาและความเชื่อ ไทดำในสิบสองจุไท. สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2017

ฉบับ

บท

บทความวิจัย