“อุดมการณ์ล้านนานิยม” ในบทเพลงของ จรัล มโนเพ็ชร
บทคัดย่อ
บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและวิเคราะห์อุดมการณ์ ในบทเพลง ของ จรัล มโนเพ็ชร โดยใช้แนวคิดอุดมการณ์ของหลุยส์ อัลธูแซร์ และแนวคิด สัญศาสตร์พบว่า จรัล มโนเพ็ชร ได้ผลิตผลงานภายใต้อุดมการณ์ล้านนานิยมโดย การประกอบสร้างความเป็นล้านนาผ่านงานวรรณกรรม ๖ ลักษณะ คือ ๑) สร้าง ความเป็นล้านนาผ่านภาษา ๒) สร้างความเป็นล้านนาผ่านภูมิปัญญา จำแนกได้ ๔ ลักษณะคือ ประเพณีล้านนา การขับขาน อาหาร และเครื่องแต่งกาย ๓) สร้าง ความเป็นล้านนาโดยยึดโยงกับพระพุทธศาสนา ๔) สร้างความเป็นล้านนา ผ่านบุคคลในประวัติศาสตร์ ๕) สร้างความเป็นล้านนาผ่านวาทกรรมคนเมือง จำแนกได้ ๓ ลักษณะ คือ คนเมืองหวงแหนแผ่นดินเกิด คนเมืองผิวขาว และ คนเมืองไม่ใช่ลาว ๖) สร้างความเป็นล้านนาผ่านการเชื่อมโยงกับส่วนกลาง โดยมี จุดประสงค์เพื่อสร้างจุดยืนให้กับ “ล้านนา” ภายใต้กระแสชาตินิยมจากส่วนกลาง
References
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. ๒๕๔๕. วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. ๒๕๔๖. จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินล้านนาแห่งยุคสมัย. เชียงใหม่ : สถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. ๒๕๕๔. คนเมือง ประวัติศาสตร์ล้านนาสมัยใหม่ พ.ศ.๒๓๑๗–๒๕๕๓. เชียงใหม่ : สถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่.
เปรมวดี กิรวาที. ๒๕๕๒. จรัล มโนเพ็ชร กับการสร้างภาพตัวแทนบางส่วนของอัตลักษณ์ล้านนา. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฐิตินัน บ.คอมมอน. (๒๕๕๕, กรกฎาคม–ธันวาคม). “เพลงและอัตลักษณ์ วัฒนธรรมชุมชน : จรัล มโนเพ็ชร กับบทบาทของนักรบทางวัฒนธรรมดนตรีล้านนา” วารสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ๖ (๒) : ๔๕–๑๗๙.
สายชล สัตยานุรักษ์. “ชาตินิยม วัฒนธรรม และความขัดแย้ง”. ในชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม : รายงานการประชุมวิชาการ; วันที่ ๒๒–๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรมแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่.
สิริกานต์ สุวรรณผู. ๒๕๕๔. การสื่อสารเพื่อต่อรองทางอุดมการณ์ของวัฒนธรรมคำเมือง : กรณีศึกษาเพลงโฟล์กซองคำเมืองของจรัล มโนเพ็ชร. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุนทร คำยอด. ๒๕๕๘. อ.ไชยวรศิลป์กับภาพลักษณ์ผู้หญิงเหนือ. ลำพูน : ณัฐพลการพิมพ์.
K,Althusser, Louis. 1984. Essay on Ideology. London : Thetfort Press.
Greimas, A.J. 1966. Structural Semantics. London : University of Nebraska Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ