นามสกุลคนเมือง...ภาพสะท้อนการใช้ภาษาถิ่นที่กำลังจางหาย (กรณีศึกษา นามสกุลคนเมืองในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่)

ผู้แต่ง

  • ชวนพิศ นภตาศัย นักวิชาการอิสระ

บทคัดย่อ

นามสกุล เป็นมรดกที่ทุกคนได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งการใช้ นามสกุลทำให้เกิดจิตสำนึกต่อรากเหง้าของตน รวมทั้งมีสำนึกแห่งชาติพันธุ์ นามสกุลจึงสะท้อนให้เห็นถึงที่มาของบุคคลนั้นๆ เพราะในนามสกุลแต่เดิมจะใช้ ภาษาท้องถิ่นและมีความหมายที่เกี่ยวกับชื่อของบรรพบุรุษ รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น อาชีพ ถิ่นที่อยู่ และอื่นๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคนในตระกูล ในช่วงเวลาประมาณสิบปีที่ผ่านมานี้ คนในสังคมไทยนิยมเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุลกันมาก มีเหตุผลว่าเพื่อความสะดวก เพื่อความไพเราะ รวมทั้ง มีความเชื่อว่า จะช่วยให้พ้นจากความทุกข์ที่กำลังเผชิญอยู่ และบางคนเปลี่ยน นามสกุลเพื่อเหตุผลทางจิตวิทยา จากการศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนนามสกุลของคนเมืองที่ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ พบว่า นามสกุลเดิม ส่วนมากเป็นการผสมชื่อของปู่ย่าตายาย เป็นคำ ที่แสดงถึงอาชีพ คำแสดงยศตำแหน่ง รวมถึงคำที่แสดงถึงถิ่นที่อยู่ เมื่อถึงยุคที่ คนนิยมเปลี่ยนนามสกุล คำเมืองหรือภาษาล้านนาในนามสกุลในแบบเดิม ถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นนามสกุลที่ใช้คำหรูหรา สวยงาม ความหมายดี ซึ่งมัก ประกอบกันด้วยคำบาลีสันสกฤต ซึ่งมีความหมายซับซ้อน ยากแก่การเข้าใจ คนที่ ไม่มีความรู้ภาษาบาลีสันสกฤตแทบจะไม่เข้าใจความหมายของนามสกุลใหม่ ที่เปลี่ยนไป นามสกุลที่ตั้งใหม่ไม่มีกลิ่นอายของคำเมือง ไม่มีความหมาย ที่เกี่ยวข้องกับตระกูล และไม่ใช่ภาษาล้านนา ซึ่งการละทิ้งนามสกุลเดิมที่เป็น คำเมือง หรือภาษาล้านนา ไปใช้คำที่เป็นบาลีสันสกฤตแบบภาษาไทย จึงเป็น การสูญสิ้นไปของคำเมืองอีกทางหนึ่ง การละทิ้งคำเมืองน่าจะน้อยลง หากผู้มีความรู้ภาษาล้านนาช่วยตั้ง นามสกุลใหม่ให้ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนนามสกุลได้เลือกใช้ นามสกุลภาษาล้านนา ที่สละสลวย ไพเราะและความหมายดี น่าจะทำให้คนเมืองใช้นามสกุลที่เป็น คำล้านนากันต่อไป แต่หากวันหนึ่งคนเมืองจำนวนมากพากันเปลี่ยนนามสกุล ไปจากคำเมือง ณ วันนั้น ภาษาเขียนสั้นๆ ที่แสดงตัวตนของคนเมืองก็จะค่อยๆ เลือนหายไป การใช้ภาษาล้านนาในความหมายเพื่อแสดงอัตลักษณ์คนล้านนา ก็จะมลายไปอีกทางหนึ่ง

References

ไกรศรี นิมมานเหมินท์. ๒๕๒๗ “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง”. ศูนย์หนังสือเชียงใหม่. เชียงใหม่.

จิตร ภูมิศักดิ์. ๒๕๒๓. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. กรุงเทพฯ. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

บุญคิด วัชรศาสตร์ ๒๕๓๘. คนเมืองอู้คำเมือง. เชียงใหม่. ธารทองการพิมพ์.

สภาวัฒนธรรมอำเภอจอมทอง. ๒๕๕๐. ประวัติเมืองจอมทอง. เชียงใหม่. เฉลิมการพิมพ์.

สุรพล ดำริห์กุล. ๒๕๔๒. ล้านนา. กรุงเทพ : โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย.

สัมภาษณ์พ่อน้อยแก้ว กันธิยะ อายุ ๘๓ ปี

สัมภาษณ์พ่อครูเพชร แสนใจบาน อายุ ๖๘ ปี

สัมภาษณ์พ่อครูประเสริฐ แสนสุรินทร์ อายุ ๗๐ ปี

สัมภาษณ์พ่อหนานคำวัน มังยะสุ อายุ ๖๗ ปี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2016

ฉบับ

บท

บทความวิจัย