พันนาเมืองอู : ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่ของคนลื้อในพันนาที่หายไป

ผู้แต่ง

  • ลักษมณ์ บุญเรือง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

บทคัดย่อ

บทความเรื่องพันนาเมืองอู : ประวัติศาสตร์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ยัง คงอยูข่ องคนลื้อ ในพันนาที่หายไป เปน็ การศึกษาเชิงคุณภาพโดยใชวิ้ธีการศึกษา เปรียบเทียบ โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการสังเกต แล้วนำมา วิเคราะห์เชื่อมโยงกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางประวัติศาสตร์สิบสองพันนา สมัยรัฐจารีต เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ เมือง อูเหนือและเมืองอูใต้ แขวงพงสาลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากการศึกษาพบว่าการที่เมืองอูถูกแยกออกมาอยู่ในเขต สปป.ลาว นั้น ส่งผลต่อลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของคนลื้อที่นี่ไม่มากนัก สังคม และวัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ของจีนซึ่งเป็นชาติใหญ่อยู่เล็กน้อยเนื่องจากมีชายแดนที่ติดต่อกับประเทศจีน ส่วนวัฒนธรรมลาวนั้นเข้ามาจากทางราชการเป็นหลัก เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของคนลื้อในยุครัฐจารีตยังคงอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์เมื่อเทียบกับสังคมลื้อ ในเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองพันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐ ประชาชนจีน

References

คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับจีนในเอกสารภาษาจีน. บันทึกเรื่องสิบสองพันนา. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๒๗.

งามพรรณ เวชชาชีวะ (แปล). ชนชาติไต สถาปัตยกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไตในสิบสองพันนา. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๓๖.

ณัชชา เลาหศิรินาถ. สิบสองปันนา รัฐจารีต. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๑.

เทิด เกียรติภูมิ. เปิดโลกสิบสองปันนา. กรุงเทพฯ : ธนบรรณ, ๒๕๓๙.

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. ไทยสิบสองปันนา เล่ม ๑. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๕๔๗.

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. ไทยสิบสองปันนา เล่ม ๒. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๕๔๗.

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. ตำนาน. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๕.

ยรรยง จิระนคร และ รัตนาพร เศรษฐกุล. ประวัติศาสตร์สิบสองปันนา. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๔.

เรณู วิชาศิลป์ (แปล). เชื้อเครือเจ้าแสนหวี สิบสองพันนา. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๔๔.

ศิราพร ณ ถลาง. ชนชาติไทในนิทาน. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๕.

สมหมาย เปรมจิตต์ (แปล). ประวัติศาสตร์ลาว. ลำพูน : เทคนิคการพิมพ์, ๒๕๓๕.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2016

ฉบับ

บท

บทความวิจัย