พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และตัวตนของเมืองแพร่

ผู้แต่ง

  • ภูเดช แสนสา คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ในปัจจุบันยังไม่ลงตัว เนื่องจากขาดหลักฐาน และการบันทึกที่สืบเนื่อง จึงมีลักษณะเป็นงานเขียนประวัติศาสตร์ที่เกิดจาก ความเชื่อ เขียนขึ้นโดยขาดหลักฐานที่หนักแน่นรองรับ เมืองแพร่ปรากฏตัวตน ครั้งแรกในตำนานพื้นเมืองพะเยาเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในฐานะเป็น แว่นแคว้นอิสระที่เรียกว่า “แคว้นพลนคร” และมีความสัมพันธ์กับแว่นแคว้น ใกล้เคียง ได้แก่ แคว้นโยนก แคว้นเขลางค์นคร แคว้นภูกามยาว (พะเยา) แคว้นน่าน และแคว้นสุโขทัย จนกระทั่ง พ.ศ.๑๙๘๖ แคว้นพลนครผนวกเข้าเป็น ส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา หลังจากนี้เมืองแพร่จึงถูกลดบทบาทลงเป็น หัวเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนาและขึ้นตรงต่อกษัตริย์ล้านนาที่เมืองเชียงใหม่ มีการสับเปลี่ยนเจ้าเมืองที่เป็นเจ้านายและขุนนางมาปกครอง จนถึง พ.ศ.๒๑๐๑ ล้านนาตกเป็นประเทศราชของพม่า เมืองแพร่ จึงเป็นประเทศราชของพม่าด้วย กษัตริย์พม่าและกษัตริย์ล้านนามีอำนาจในการ โยกย้ายสับเปลี่ยนเจ้าเมืองแพร่ แต่ขณะเดียวกันบางช่วงเจ้าเมืองแพร่ก็เป็น ผู้ที่มีบทบาทมากจนกษัตริย์พม่าได้สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ล้านนา จนกระทั่ง พ.ศ.๒๓๑๓ พญามังไชย เจ้าเมืองแพร่ ได้ต่อต้านกษัตริย์พม่าหันมาสวามิภักดิ์ กับกษัตริย์สยาม เมืองแพร่จึงมีสถานะเป็นเมืองประเทศราชของสยาม ปกครอง ด้วยระบบ “เจ้าหลวง” ในราชวงศ์แสนซ้าย ที่เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดภายใน บ้านเมือง เจ้าหลวงมีสถานะเป็น “กษัตริย์เมืองนครแพร่” เป็นเจ้าชีวิต เจ้าแผ่นดินภายในบ้านเมืองและหัวเมืองขึ้น จนถึงพ.ศ.๒๔๔๒ เมืองนครแพร่ ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม จึงกลายเป็น “จังหวัดแพร่” ประเทศไทย สืบมาจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของตัวตนเมืองแพร่ รัฐจารีตมีคติตัวตนของเมืองประกอบขึ้นด้วย เมืองทางกายภาพกับเมืองทางจินตภาพที่ซ้อนทับกันอยู่ ตัวตนของเมืองแพร่ จึงประกอบขึ้นด้วยหัวใจสำคัญของความเป็นเมืองผ่านระบบ “เจ้า” ที่ประกอบด้วย ส่วนสำคัญคือ กษัตริย์ (เจ้าเมือง) เจ้านาย คุ้ม เมือง และเวียง ระบบ “พุทธ” (พราหมณ์) ประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ วัดหลวงประจำเมือง วัดมิ่งเมือง และ วัดหลวงหัวเวียง (วัดหัวข่วง) และระบบ “ผี” ประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ ผีเมือง ผีอารักษ์เวียงและผีอารักษ์ดูแลรักษาพื้นที่ต่างๆ

References

กรมศิลปากร. จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., ๒๕๒๖.

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. พระนคร : เจริญธรรม, ๒๕๐๖.

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมฯ. ประชุมศิลาจารึกสุโขทัย. ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ม.ป.ป.

จินตนา ยอดยิ่ง. ประวัติของชื่อตำบลและหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองแพร่จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.๒๕๑๙.

ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ ยุพิน เข็มมุกด์ และวรวิมล ชัยรัต (บรรณาธิการ). ไม่มีวัดในทักษาเมืองเชียงใหม่ บทพิสูจน์ความจริงโดยนักวิชาการท้องถิ่น. เชียงใหม่ : มิ่งเมือง, ๒๕๔๘.

บำเพ็ญ ระวิน (ปริวรรต). มูลสาสนา สำนวนล้านนา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๓๘.

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ๒๕๐๖.

ประสิทธิ์ ขอบรูป (ปริวรรต). มหาพลนคร ตำนานพระธาตุช่อแฮ. แพร่ : เมืองแพร่การพิมพ์, ๒๕๕๗.

พรรณเพ็ญ เครือไทย และคณะ. ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๙ จารึกในจังหวัดแพร่. เชียงใหม่ : มิ่งเมือง, ๒๕๔๙.

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่. เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๑๘.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกท้ายคัมภีร์ใบลานนิพานสูตร วัดทุ่งโฮ้งเหนือ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๔๑๙ อักษรธรรมล้านนา.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกท้ายคัมภีร์นันทเสน ผูก ๔ วัดทุ่งโห้งใต้ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๔๐๐ อักษรธรรมล้านนา.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกท้ายคัมภีร์บัวรวงศ์หงส์อามาตย์ ผูก ๔ วัดทุ่งโฮ้งเหนือ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๔๐๒ อักษรธรรมล้านนา.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกท้ายคัมภีร์มูลกิตติ จารโดยพระยาวิไชยปัญญาซ้อน วัดไฮสร้อย ตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๔๓๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกท้ายคัมภีร์ใบลานสมณเสฏฐีชาดก วัดทุ่งโฮ้งเหนือ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อักษรธรรมล้านนา.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกท้ายคัมภีร์สุวรรณสังข์ ผูก ๒ จารโดยพระอินทะ วัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๔๗๗ อักษรธรรมล้านนา.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกท้ายคัมภีร์ใบลานสัพพนาม ผูก ๓ วัดทุ่งโฮ้งเหนือ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๔๖๙ อักษรธรรมล้านนา.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). ตำนานเชียงใหม่ จารโดยพระไชยวุฒิ ฉบับวัดอัมพาราม บ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). ตำนานพระธาตุเจ้าลำปาง ฉบับวัดสะปุ๋งหลวง ตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จารพ.ศ.๒๔๕๙ อักษรธรรมล้านนา.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). ตำนานพื้นเมืองพะเยา. เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๕๖.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). พับสาคำเรียกขวัญขึ้นเรือนใหม่ ฉบับบ้านนาตุ้ม เมืองลอง, อักษรธรรมล้านนา.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). พับสาทักษาของบ้านเมือง ฉบับของเมืองแพร่ อักษรธรรมล้านนา. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๗ วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๑๑๙.

รณี เลิศเลื่อมใส. ฟ้า–ขวัญ–เมือง จักรวาลทัศน์ดั้งเดิมของไท : ศึกษาจากคัมภีร์โบราณไทอาหม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๑.

วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร. ประวัติวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ ๓. แพร่ : เมืองแพร่การพิมพ์, ๒๕๕๕.

วัดหลวง. วัดหลวงเมืองแพร่เมื่อ ๑๐๐๐ ปี. ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ม.ป.ป.

วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่. ขัตติยานีศรีล้านนา. กรุงเทพฯ : วิทอินดีไซด์, ๒๕๔๗.

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. การบูรณะและพัฒนาอุโบสถวิหารวัดพระธาตุช่อแฮพระอารามหลวง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. เชียงใหม่ : หจก.ชุติมาพริ้นติง, ๒๕๕๖.

ศรีศักร วัลลิโภดม และวลัยลักษณ์ ทรงศิริ. นครแพร่จากอดีตมาปัจจุบันภูมินิเวศวัฒนธรรมระบบความเชื่อและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : วัชรินทร์ พีพี, ๒๕๕๑.

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. เชียงใหม่ : มิ่งเมือง, ๒๕๓๘.

สรัสวดี อ๋องสกุล (ปริวรรต). ประชุมตำนานลำปาง. เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๔๘.

สรัสวดี อ๋องสกุล (ปริวรรต). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, ๒๕๔๖.

สรัสวดี อ๋องสกุล (ปริวรรต). พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, ๒๕๓๙.

สุจิตต์ วงศ์เทศ (บรรณาธิการ) นายต่อ (แปล). มหาวงษ์พงศาวดารพม่า. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๕.

สมพงษ์ จิตอารีย์. การศึกษาบทสู่ขวัญและพิธีสู่ขวัญของชาวไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๔๕.

หจช.ร.๕ ม.๕๘/๑๘๒ รายงานต่างๆ จัดราชการเมืองนครลำปาง (๒๐ ธ.ค. ๑๑๖–๑๑ เม.ย. ๑๒๗).

Sithu Gamani Thingyan. Zinme Yazawin. Today printing, 2003.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-01-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย