ยันต์ ... ความพันผูกทางพุทธธรรมภาษา และ ศิลปะ

ผู้แต่ง

  • อัญชลี กิ๊บบิ้นส์ นักวิชาการอิสระ

บทคัดย่อ

หัวใจของพระพุทธศาสนา คือการมีหลักพุทธธรรมเป็นฐานสำคัญ การที่คนเราจะสามารถรับประโยชน์สูงสุดจากพระพุทธศาสนาได้นั้น ก็คือ การศึกษาและนำพระธรรมคำสั่งสอนมาปฏิบัติใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต อย่างไรก็ดี แม้ในหมู่ชนท่ามกลางพุทธศาสนิกชนนั้นก็มีอยู่จำนวนไม่น้อย เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธ แต่ดำเนินชีวิตไปอย่างชนิดที่เลยไกลไปจาก ความเชื่อความศรัทธาในกรอบหลักพระพุทธธรรม อาทิ ความเชื่อในเรื่อง สิ่งลี้ลับ สิ่งเหนือธรรมชาติ นับถือผีหรือการทรงเจ้า ซึ่งพาให้เลยไกลไปจากความ เชื่อในหลักของเหตุปัจจัย แต่กลับหลุดไปสู่ความเชื่อที่เป็นความงมงาย ซึ่ง ลักษณะของความเชื่อความศรัทธาก็มีความแตกต่างไปคนละขั้ว ขั้วหนึ่งของ ความเชื่อโน้มเอียงไปทางความเชื่ออย่างงมงาย เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ กับอีกขั้วที่ตรงข้ามกันคือ ความเชื่อ ความศรัทธาที่มีปัญญาคอยกำกับ ให้ตื่นรู้ หาเหตุผลในการที่จะปักใจเกิดความเชื่อหรือความศรัทธาในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งแต่ละชีวิตก็มักมีความเชื่อต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ มีผู้คน มากมายในสังคมวันนี้ที่ให้ความเลื่อมใสศรัทธาในอานุภาพของยันต์ต่างๆ เป็นการศรัทธาตามที่ถูกสอนและได้เห็น โดยไม่ทราบที่มา บอกได้ว่ามียันต์ ไว้เป็นเครื่องคุ้มครองให้ตนเอง รอดพ้นจากสิ่งชั่วร้าย สร้างรัก สร้างเมตตา สร้างเสน่ห์ให้ผู้คนหลงใหล หรือไว้เรียกเงินเรียกทอง นำมาซึ่งความมั่งคั่งร่ำรวย ทำมาค้าขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ดียังมิอาจพบหลักฐานที่เป็นข้อพิสูจน์ ได้ถึงอานุภาพต่างๆ เหล่านี้อย่างเป็นที่ประจักษ์ อีกทั้งยังขาดการบันทึก อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งในเอกสารที่เป็นที่ยอมรับได้ในวงกว้าง มีก็แต่เพียงการ บอกเล่าสืบต่อกันมาจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ ในกลุ่มคนที่มีความเชื่อพ้องกัน หรือมีอยู่ในนิทาน นิยายที่เล่าขานต่อๆ กันมา และมักเป็นสิ่งที่ถูกกำกับไว้ด้วย คำว่า “ควรใช้วิจารณญาณ” หรือเป็นเรื่องความเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้น อานุภาพ แห่งยันต์ยังคงจำกัดไว้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลเท่านั้น ยันต์ที่พบส่วนมากจะลงไว้ด้วยอักษรขอมบาลี อักษรขอมโบราณ อักษร ธัมม์ล้านนา ตัวเลขไทยและ ตัวเลขโหร ซึ่งล้วนมีอักขระที่สื่อซ่อนเนื้อหาที่มี ความเกี่ยวพันกับพุทธคัมภีร์จากพระไตรปิฏก จากนิทานชาดก เมื่อครั้งสมัย พุทธกาล และที่สำคัญอักขระบนยันต์ส่วนมากนั้นซ่อนงำขุมทรัพย์ทางปัญญา ที่มาจากข้อธรรมคำสอน ในพระพุทธศาสนา หากพิจารณาจากคำนิยาม รากเหง้า ความหมายของคำว่า “ยันต์” นั้น จะหมายถึง เร็ว คล่อง ง่าย คือง่ายที่จะทำให้จำ ได้ง่าย ระลึกถึงได้ง่ายนำมาปฏิบัติใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งหมายถึงการถอดกล ยันต์จากอักขระที่ลงไว้นั่นเอง อย่างไรก็ดี ในบทความนี้ผู้เขียนมุ่งหวังที่จะสะท้อนขอบเขตความรู้ เกี่ยวกับ “ยันต์” ในอีกมิติหนึ่งคือ สะท้อนมุมมองของยันต์ที่มีความพันผูก กับพระพุทธธรรม ซึ่งเป็นรากเหง้าดั้งเดิมของการเกิดขึ้นมีของยันต์ ทั้งจาก รากศัพท์เดิม และจากเนื้อหาที่ถูกหยิบยกและนำมาจดจารลงบนยันต์ เพื่อให้ เกิดความเข้าใจและได้รับประโยชน์ที่แท้จริงของยันต์ที่พันผูกกับพุทธธรรม และ สามารถได้รับอานุภาพจากยันต์อย่างสมบูรณ์ ตราบเท่าที่ผู้เลื่อมใสศรัทธาใน ยันต์นั้นๆ มีความรู้ความเข้าใจ ถอดกลความหมายที่ซ่อนสอนไว้ภายใต้อักขระ ย่อแต่ละตัวหรือเลขสูตรแต่ละช่องที่บันทึกไว้บนยันต์ นำยันต์มาเป็นเครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ เครื่องชี้นำวิธีปฏิบัติและดำเนินชีวิตไปในแต่ละวันอย่างถูกต้อง ตามครรลองธรรม เพราะวิถีความเชื่อที่พัฒนาขึ้นด้วยปัญญา จากความศรัทธา สูก่ ารปฏิบัติ ในทางที่ถูกตอ้ ง จะนำพาใหเ้ ราไดเ้ กิดความรูอ้ ยา่ งแตกฉานในหลัก พุทธธรรมมากยิ่งขึ้น และจักทำให้การคงอยู่ของยันต์ที่สืบมาแต่โบราณกาล จะยังคงอยู่เป็นเครื่องเตือนสติ เครื่องสร้างสติ เครื่องปลูกปัญญา ให้รู้แจ้งแทง ตลอดในพระธรรม ดังที่ยันต์ถือกำเนิดมาแต่ดั้งเดิมที่พันผูกเข้ากับพุทธธรรม สร้างยันต์ขึ้นมาจากกุศลเจตนา ใช้ปัญญาสร้างกลย่นย่อคำสอนของพุทธศาสดา ที่ล้ำลึก สุขุมคัมภีรภาพ ส่งทอดต่อใหผู้ใฝ่ศึกษาได้ใช้สติและปัญญาอันชาญฉลาด เพื่อจะได้รับประโยชน์ที่แท้จริงที่สร้างสุข ปลอดทุกข์ภัย จากอานุภาพแห่งยันต์ ดุจคัมภีร์ที่มีอยู่คู่กายที่พร้อมนำมาศึกษาและปฏิบัติตาม บนมิติแห่งความศรัทธา ของวิถีผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบานได้สืบไป

References

ณรงค์ศักดิ์ พันธ์โสตถี. (๒๕๕๕). มหากาลบ้านพระเวท. พิมพ์ครั้งที่ ๑. เชียงใหม่ : บริษัทนันทพันธ์พริ้นติ้ง จำกัด.

พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ. (๒๕๕๓). พุทธานุภาพกับจิตตานุภาพ. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด.

พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ. (๒๕๕๔). มหัศจรรย์ทางจิต. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด.

พันเอกสำราญ ก้านพลูกลาง. เอกสารประกอบการบรรยายฉันทลักษณ์บาลี. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา.

ยืนยง มาดี และ อดิพงศ์ หันภาพ. (๒๕๕๗). คัมภีร์มหายันต์โบราณ เล่ม ๓. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ วี.ที.เอส.บุ๊คเซ็นเตอร์.

ยืนยง มาดี และ อดิพงศ์ หันภาพ. (๒๕๕๗). คัมภีร์มหายันต์โบราณ เล่ม ๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ วี.ที.เอส.บุ๊คเซ็นเตอร์.

วานิษา บัวแย้ม. (๒๕๕๖). ศึกษาแนวคิดยันต์รูปตัวละครรามเกียรติ์. ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ. คณะโบราณคดี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี. (๒๕๔๗) พจนานุกรมล้านนา–ไทยฉบับแม่ฟ้าหลวง. ปรับปรุงครั้งที่ ๑. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ. (๒๕๐๙). ๑๐๘ ยันต์ ฉบับพิสดาร ชำระโดยพระราชครูวามเทพมุนี. กรุงเทพฯ : สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี.

www.saksitsart.com

http : //www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/bachelor/a22556024/fulltext.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2016

ฉบับ

บท

บทความวิจัย