ดนตรีกับช่องว่างระหว่างหู: บทศึกษาเบื้องต้น
บทคัดย่อ
ดนตรีเป็นสิ่งแวดล้อมประจำวันอย่างหนึ่งของมนุษย์ ทุกเวลาและทุกที่มี เสียงดนตรีเสมอ ไม่ว่ามนุษย์จะตั้งใจฟังหรือไม่ก็ตาม ดนตรีเป็นศิลปะที่เป็นผลผลิต ของมนุษย์และสังคม ทุกสังคมมีองค์กรต่างๆ ประกอบกันทำให้มีลักษณะและแบบแผน ต่างๆ ทางวัฒนธรรมเป็นของแต่ละสังคม ซึ่งอาจเหมือนกับสังคมอื่นๆ มากหรือน้อยขึ้น กับปัจจัยหลายด้าน และอาจแตกต่างจากสังคมอื่นๆ มากหรือน้อยด้วยเหตุปัจจัย ต่างๆ เช่นกัน วัฒนธรรมของสังคมมีอิทธิพลต่อดนตรีของตน โดยปรากฏชัด ในองค์ประกอบดนตรีสามประการ คือ ทำนอง จังหวะ และสีสันของเสียง ซึ่งมีรากฐาน จากคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ที่มีเองตามธรรมชาติของเสียง คือ มีระดับเสียง (ใช้แต่งทำนอง) ความยาวของเสียง กับความเข้มของเสียง (ใช้สร้างลีลาจังหวะและ ความดัง) และสีสันของเสียง ซึ่งมีให้เลือกใช้เพื่อสร้างความไพเราะให้สอดคล้องกับ ความรู้สึกและอารมณ์ที่พึงประสงค์ องค์ประกอบที่เหลืออีกสองอย่าง คือ เนื้อ ในของดนตรี และรูปแบบนั้น นักดนตรีหรือผู้รู้ดนตรีสนใจมากกว่าผู้ฟังทั่วๆ ไป องค์ประกอบดนตรีที่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมแฝงอยู่ดังกล่าว แม้จะเป็น นามธรรม ไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้ ก็มิได้สาบสูญไป เพราะสมองของมนุษย์ได้รับฟัง และบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นความจำระยะยาวที่สามารถ คงอยู่ได้นานหลายทศวรรษหรือตลอดชีวิต ตั้งแต่มนุษย์เริ่มจำเสียงดนตรีได้ เมื่อเป็นตัวอ่อนอายุประมาณ ๒๐ สัปดาห์ในครรภ์มารดาเป็นต้นไป เสียงดนตรีจาก สิ่งแวดล้อมในชีวิตของทารกจำนวนไม่น้อยผ่านทางมารดาสู่ทารก ทำให้ทารกรู้สึกไว้ วางใจ รู้สึกปลอดภัยและมีความสุข เสียงชุดแรกๆนี้ ต่อมาได้กลายเป็นเสียงต้นแบบ สำหรับเปรียบเทียบกับเสียงใหม่ๆ จำนวนมากที่ได้ยินเมื่อเติบโตขึ้น สมองเลือกเสียง ที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับเสียงต้นแบบสะสมไว้ การเน้นยํ้ารสนิยมทางดนตรีปรากฏ ชัดในช่วงตั้งแต่ก่อนวัยรุ่น จนถึงวัยประมาณยี่สิบปีหรือเลยไปเล็กน้อย เพราะช่วงเวลานี้ สมองกำลังมีประสิทธิภาพสูงที่สุด หลังจากนี้ รสนิยมทางดนตรีของผู้ฟังทั่วไปซึ่งมีความจำแบบเก็บรายละเอียด เป็นหลักคงที่ โดยปรากฏชัดว่า องค์ประกอบหลักสามอย่างมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ส่วนผูที้่รู้ดนตรีซึ่งมีความจำแบบรู้ความหมายเพิ่มขึ้นอาจเปลี่ยนแปลงรสนิยมไปจากเดิม ก็ได้เช่นมีความสนใจเนื้อในของดนตรีเป็นพิเศษ แต่ความจำเดิมยังคงอยู่เสมอ
References
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (๒๕๓๙). พื้นฐานทฤษฎีดนตรี. กรุงเทพ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. (๒๕๕๖). การวิเคราะห์องค์ประกอบดนตรีและฉันทลักษณข์ องบทขับของเพลงประชานิยมประเภทเพลงลูกทุง่ คำเมืองซึ่งใช้ทำนองซอดั้งเดิมในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. (ได้รับการสนับสนุนทุนทำการวิจัยจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม).
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๘). พจนานุกรมศัพท์ดนตรีสากล. กรุงเทพ : ราชบัณฑิตยสถาน
Encyclopedia Americana. (๑๙๙๗). vol.๔
Grove Concise Dictionary of Music, the. (๑๙๙๔). Ed. Stanley Sadie. London : Macmillan Press Ltd.
Jourdain, Roberts. (๒๐๐๒). Music, the Brain and Ecstasy : How Music Captures Our Imagination. New York : Harper Perennial.
Lamont, Alexandra. (๒๐๐๕).”What Is the Significance of Music for Children?” www.openlearn.edu/openlearn/body–mind/children–youth/.
Levitin, Daniel J. (๒๐๐๗). This Is Your Brain on Music. New York : A Plume Book.
Lundin, Robert W. (๑๙๘๕). An Objective Psychology of Music. Malabar, Florida : Robert E. Krieger Publishing Company.
Reck, David. (๑๙๗๗). Music of the Whole Earth. New York : Charles Scribner’s Sons.
Vivelo, Frank Robert. (๑๙๙๔). Cultural Anthropology : A Basic Introduction. Lanham, Maryland : The University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ