การแกะสลักฟักทองแบบพลิกมีด
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย เรื่อง การแกะสลักฟักทองแบบพลิกมีด สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน ให้เป็นไปตาม เกณฑ์ ๘๐/๘๐ และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนในการเรียนแกะสลักฟักทอง แบบพลิกมีด ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๑ แขนงวิชาศิลปประดิษฐ์ หลักสูตรคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จำนวน ๑๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บทเรียน อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย เรื่องการแกะสลักฟักทองแบบพลิกมีด สร้างบทเรียน โดยใช้โปรแกรม Dreamweaver เวอร์ชั่น CS 3 แบบทดสอบความรู้แบบประเมินทักษะการปฏิบัติของผู้เรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้บทเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพของบทเรียน และวิเคราะห์ความคิดเห็นของ นักศึกษาที่มีต่อบทเรียนใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ ๑. ได้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย แบ่งบทเรียนออกเป็น ๕ บท ได้แก่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแกะสลัก การแกะสลักฟักทองแบบพลิกมีดเป็น ดอกพุกตุ่มและพุกคว้าน การแกะสลักฟักทองแบบพลิกมีดเป็นดอกนิล การแกะ สลักฟักทองแบบพลิกมีดเป็นดอกประพันธ์ และการแกะสลักฟักทองแบบพลิกมีด เป็นดอกเพชรสยาม บทเรียนประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ของบทเรียน เนื้อหา ประจำบทเรียน แบบทดสอบท้ายบทและแบบฝึกทักษะการปฏิบัติหลังการศึกษา แต่ละบทแล้วมีแบบทดสอบท้ายบทและแบบฝึกทักษะการปฏิบัติในบทนั้นๆ โดยผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป ๒. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘๕.๐๗/ ๘๐.๕๓ ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ๘๐/๘๐ ๓. นักศึกษามีความคิดเห็นว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย มีความเหมาะสมในระดับมากเกี่ยวกับการนำเสนอบนเครือข่าย มีความน่าสนใจ สามารถนำไปศึกษาได้ในช่วงเวลาและสถานที่ตามต้องการ และสามารถนำ ความรู้จากบทเรียนฯ ไปประยุกต์ใช้ในการแกะสลักผักและผลไม้ได้จริง
References
กิดานันท์ มลิทอง. (๒๕๔๘). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
กิดานันท์ มลิทอง . (๒๕๔๘). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (๒๕๔๗). การออกแบบการเรียนการสอนบนเว็บในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชม ภูมิภาค. (๒๕๒๔). เทคโนโลยีทางการสอนและการศึกษา. กรุงเทพฯ : ประสานมิตร.
ทิศนา แขมมณี. (๒๕๔๗). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ดำรงศักดิ์ นิรันต์. (๒๕๔๖). แกะสลักวิจิตร. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.เฮ้าส์.
นักรบ ชุ่มอารมณ์. (๒๕๔๗). บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาการสื่อสารด้วยเส้นใยแก้วนำแสง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวศึกษาและเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (๒๕๔๕). นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : เอส อาร์ ปริ้นต์.
ปรียานุช นุนรัชฎ์. (๒๕๔๘). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้า. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรทิพย์ พรหมโชติ. (๒๕๔๘). บทเรียนบทเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชา อินเทอร์เน็ตการศึกษา. ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาทางอาชีวศึกษาและเทคนิคการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.
รัศมี ศรีสุรัตน์. (๒๕๕๐). บทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในการใช้โปรแกรมไมโครซอฟ เอ็กเซล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. การศึกษาอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (๒๕๔๕). การวัดและประเมินผลการศึกษาเบื้องต้น. เอกสารประกอบการสอน: ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วนมาริน เพ็ชรลาย. (๒๕๔๗). บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี การศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ. (๒๕๕๐). แกะสลักผักผลไม้เพื่อการตกแต่ง . กรุงเทพฯ : วาดศิลป์.
สมรมิตร ตัณฑิกุล, (๒๕๔๕). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกษตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน.
สยาม ตัญจพัฒน์กุล (๒๕๕๘). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องพันธะเคมีของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่เรียนด้วยโปรแกรมการสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สาขาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (๒๕๔๘). หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุชา จันทร์เอม. (๒๕๓๙). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
สุนันท์ สังข์อ่อน. (๒๕๓๙). สื่อการสอนและนวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สุวิมล ติรกานันท์. (๒๕๔๖). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (๒๕๔๖). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ