รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการส่งเสริม วัฒนธรรมพื้นบ้านของศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษา วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศักราช ฟ้าขาว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ ที่ส่งผลต่อการส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านของศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษา วิทยาลัย แม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ๒) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ การบริหารจัดการของศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษา วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และวิธีวิจัยแบบเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนขอ้ มูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามใชส้ ถิติความถี่และรอ้ ยละ และแบบประเมิน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ใช้สถิติค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (๑) รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการส่งเสริม วัฒนธรรมพื้นบ้าน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ ๑) หลักการและเหตุผลของ การจัดตั้งศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษา ๒) ลักษณะทางกายภาพ ๓) โครงสร้างการบริหาร จัดการศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการ บทบาทหน้าที่ คณะกรรมการ ประจำศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษา การบริหารจัดการด้านบุคลากรและงาน ด้านแผนงาน และงบประมาณ ด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีและเครือข่าย ด้านข้อมูลสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ด้านวิชาการและการวิจัย และด้านการ อนุรักษ์ และส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรม และ ๔) ลักษณะของกิจกรรม โครงการ ที่ส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ (๒) ประสิทธิผลของรูปแบบ การบริหารจัดการของศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษา วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ มีขั้นตอนและวิธีการที่จะส่งผลทำให้เกิดเป็นผลในทั้งระยะสั้น และยาวนั้น ประกอบด้วย ๑) การเกื้อหนุนด้านบริหาร ๒) การมีส่วนร่วมจาก ทุกภาคส่วน ๓) ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ๔) การตั้งกองทุนส่งเสริม งานวัฒนธรรมพื้นบ้าน ๕) การบูรณาการในการปฏิบัติงาน และผลการตรวจสอบ รูปแบบการบริหารจัดการโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า รูปแบบการบริหารจัดการมีความเหมาะสมร้อยละ ๑๐๐ และความเป็นไปได้ ร้อยละ ๙๑.๓๐

References

กาญจนา แก้วเทพและรัตติกาล เจนจัด. การบริหารจัดการวัฒนธรรมพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วมด้วยนวัตกรรมการวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์. ๒๕๕๓.

ปริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนวิจัย. ๒๕๔๓.

สมพงศ์ เกษมสิน. การบริหาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ. ๒๕๑๔.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗. http://president.uru.ac.th/legal_uru/prbraj.pdf. (๙ พ.ย.๒๕๕๕), ๒๕๕๕.

วัฒนธรรม, กระทรวง. แผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๒.

นิยพรรณ(พลวัฒนะ) วรรณศิริ. มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ เอ๊กสเปอเน็ท. ๒๕๕๐.

อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. http://www.uniserv.cmu.ac.th/uniserv/km/fi lekm.pdf (๒๐ กันยายน ๒๕๕๒).

อนุสรณ์ สุนทรพงศ์และเชษฐา โพธิ์ประทับ. รายงานการวิจัยเรื่อง ความตระหนักและการเตรียมพร้อมรองรับการสูญเสียวัฒนธรรมท้องถิ่นของนักเรียนมัธยมศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๒.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2014

ฉบับ

บท

บทความวิจัย