พระสงฆ์พลัดถิ่นในดินแดนล้านนา

ผู้แต่ง

  • ประภาศิริ ศรีภมร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “พระสงฆ์พลัดถิ่นในดินแดนล้านนา” ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง “บทบาทของพระภิกษุไทใหญ่ต่อแรงงานอพยพ ไทใหญ่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสถานการณ์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามาในประเทศไทยของพระภิกษุไทใหญ่ ลักษณะ และวิธีการย้ายถิ่นของพระภิกษุไทใหญ่ และบทบาทของพระภิกษุไทใหญ่ต่อ แรงงานอพยพไทใหญ่วิธีการวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลากหลายวิธี ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับการวิจัยและการสัมภาษณ์พระสงฆ์จาก ประเทศเพื่อนบ้านที่จำพรรษาอยู่ที่วัดในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์สู้รบกันระหว่างกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ กับรัฐบาลเมียนมาร์ที่มีมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นต้นมา มีส่วนทำ ให้ชาวไทใหญ่ทั้งพระสงฆ์และประชาชนทั่วไป เดินทางข้ามประเทศเข้ามาใน ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปัจจัยภายใน รัฐบาลไทยไม่มีนโยบาย ปราบปรามแรงงานต่างด้าวหรือผู้อพยพด้วยวิธีรุนแรง กับทั้งเป็นประเทศที่มี ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี คล้ายคลึงกับชาวไทใหญ่ การมีญาติพี่น้องในจังหวัด เชียงใหม่หรือใกล้เคียง และประเทศไทยมีเศรษฐกิจดีและต้องการแรงงานเพิ่ม เป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้ชาวไทใหญ่และพระภิกษุไทใหญ่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ มากยิ่งขึ้น ลักษณะการเข้าประเทศไทยของพระภิกษุส่วนใหญ่ อยู่ในขณะครอง สมณเพศ เดินทางจากชุมชนของตนเองโดยลำพัง หรือมาเป็นกลุ่มๆ โดยมี นายหน้าให้การดูแล ในการเดินทาง และมีคนไทย ซึ่งเป็นญาติหรือเป็นพระภิกษุ คอยให้ความช่วยเหลือ ดำเนินการให้เป็นคนเข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้พระภิกษุไทใหญ่เห็นว่าการเข้าเมือง ในขณะดำรงสมณเพศจะได้รับการอำนวย ความสะดวกสูงกว่าการเข้ามาของฆราวาส เมื่อเข้ามาจำพรรษาอยู่ในเชียงใหม่แล้ว พระภิกษุไทใหญ่ มีบทบาท ในการช่วยเหลือแรงงานอพยพชาวไทใหญ่ ทั้งในเรื่องการให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ตามวิธีการผ่อนปรนแรงงานของรัฐบาล การช่วยสอน ภาษาไทยและภาษาไทใหญ่ ให้แก่แรงงานและบุตรหลาน การแนะนำสั่งสอน ให้รู้จักอดออม เพื่อส่งเงินไปช่วยเหลือญาติพี่น้องในประเทศเมียนมาร์ และให้ ปฏิบัติตนที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคมเชียงใหม่ และบทบาทการช่วยเหลือ สิ่งของจำเป็น สำหรับการอุปโภคบริโภคให้แก่แรงงานที่มีรายได้น้อยและยากจน จากการผสมกลมกลืนทางสังคมและวัฒนธรรมของพระสงฆ์ ทำให้เราได้ทราบข้อปัญหาของการเข้ามาอาศัยอยู่ในล้านนา พระสงฆ์เหล่านี้ถือเป็นองค์กร สำคัญในทางพระพุทธศาสนาที่เชื่อมสานสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของประเทศ เพื่อนบ้านและล้านนาได้อย่างลงตัว

References

กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์. พงศาวดารใหญ่. เล่ม ๑, กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๒๖.

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. ปัญหาชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย. พระนคร : แพร่วิทยา, ๒๕๑๕.

ขวัญชีวัน บัวแดง. รายงานการวิจัย. พื้นที่พรมแดนแม่น้ำเมยกับความสัมพันธ์ชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง-คนเมือง ภายใต้แผนการวิจัย อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษร์ทางชาติพันธุ์ : การเมืองเชิงวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทยภาคเหนือ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๑.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. วิวัฒนาการเศรษฐกิจหมู่บ้านในภาคเหนือของประเทศไทยพ.ศ.๒๓๔๙–๒๔๗๕ กรุงเทพฯ : ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๒๓.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. พ่อค้าวัวต่าง ผู้บุกเบิกการค้าขายในหมู่บ้านภาคเหนือของประเทศไทย (พ.ศ.๒๓๙๘–๒๕๐๓). เชียงใหม่ : ศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น, ๒๕๔๕.

ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล. การศึกษาการพรรณนาเรื่องชาติพันธุ์ในงานประวัติศาสตร์เมียนมาร์ที่เขียนโดยนักบริหารอาณานิคมชาวอังกฤษ ค.ศ.๑๘๘๐-๑๙๕๐. เชียงใหม่: ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๐.

ธานี แสงรัตน์. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล “นโยบายต่างประเทศต่อเมียนมาร์ในชว่ งเปลี่ยนผ่านปี ๒๕๕๕-๒๕๕๘”. (กรุงเทพฯ : สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงต่างประเทศ, ๒๕๕๕.

ธีรภาพ โลหิตกุล. คนไทในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ : ผู้จัดการ, ๒๕๓๘.

นคร พันธุ์ณรงค. ปัญหาชายแดนไทย-เมียนมาร์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๐.

นงนุช จันทราภัย และเรณู วิชาศิลป์. ไท (TAI). เชียงใหม่ : มิ่งเมือง, 2541.

บรรจบ พันธุเมธา, กาเลหม่านไตในรัฐฉาน, กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือ, 2504.

ปานแพร เชาวนป์ ระยูร. บทบาทของพระพุทธศาสนาตอ่ กระบวนการผลิตซํ้าทางอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๐.

พิมุข ชาญธนะวัฒน์. การปรับปรน เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ กรณีศึกษาชาวไทยใหญ่ บ้านถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๔๖.

ยุพิน เข็มมุกด์. สถาบันสงฆ์กับการเมืองและสังคมล้านนา พ.ศ.๑๙๕๔–๒๑๐๑. กรุงเทพฯ : ปริญญานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๑.

ยุพิน เข็มมุกด์. ล้านนาภายใต้การปกครองของเมียนมาร์ พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗. เชียงใหม่ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๓๕.

ศิวัช นนทะวงษ์. “การแสดงทางวัฒนธรรม”, วัฒนธรรมและสิทธิในประเทศไทย. ๑๒, ๖๗ (เมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓) : ๑๔.

สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ. ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่. กรุงเทพฯ : โครงการประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมชนชาติไทย, ๒๕๔๔.

สุพิน ฤทธิ์เพ็ญ. ถิ่นฐานคนไท (ไต) ในรัฐฉาน. โครงการบรรยายให้ความรู้บนเวทีพิพิธภัณฑ์ “มิวเซียมออนสเตจ” ครั้งที่ ๑. ลำพูน : ห้องประชุมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จ.ลำพูน, ๒๕๕๕.

สุภางค์ จันทวานิช. ผลกระทบของการย้ายถิ่นข้ามชาติต่อชุมชนชายแดนและชุมชนที่มีผู้ายถิ่นจำนวนมากในประเทศไทย:การสร้างความกลมกลืนและความมั่นคงในชุมชน. กรุงเทพฯ : รายงานการวิจัย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ๒๕๕๑.

ออมสิน บุญเลิศ. การต่อรองและปรับตัวของคนพลัดถิ่น: กรณีศึกษาชาวไทใหญ่พลัดถิ่นในเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๗.

Chao Tzang Yawngwe. The Shan of Burma: memoirs of a Shan exile. Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, 1987.

Damrikul, U. Lanna : Environment, society and culture. Bangkok : Rung-aroon Press, 1999.

Sao Saimong Mangrai. The Shan States and the British annexation. Inthaca. New York : Department of Asian Studies, Cornell University, 1965.

Yangsang, J. Monks’ role in the changing society. Chiang Mai : Unpublished M.A.Thesis. Chiang Mai University, 1998.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2014

ฉบับ

บท

บทความวิจัย