รูปแต้มวัดต้าม่อน เมืองต้า วัดพม่าปลายแดนด้านทิศตะวันออกเมืองนครลำปาง
คำสำคัญ:
จิตรกรรมฝาผนัง, ศิลปะล้านนา, วัดพม่า, นครลำปางบทคัดย่อ
รูปแต้มวัดต้าม่อน เมืองต้า เป็นศิลปะล้านนา กลุ่มสกุลช่างเมืองน่าน เป็นรูปภาพที่มีความคล้ายคลึงกับรูปแต้มวัดภูมินทร์และวัดหนองบัว เมืองน่าน ทั้งการใช้สี ลักษณะท่าทางของบุคคล แต่รูปแต้มวัดต้าม่อนก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะ เช่น วาดบนผนังแผ่นไม้สัก การแต่งกายโดยเฉพาะสตรีจะสวมซิ่นตีนจกแบบท้องถิ่นเมืองต้าและเมืองลอง เป็นต้น โดยมีหม่องผิ่ว ชาวพม่าในเมืองนครเชียงตุงที่เข้ามาทำป่าไม้ในเมืองต้า เป็นหัวหน้าช่างวาดรูป พร้อมกับลูกมือช่างเป็นชาวไทเขินจากเมืองนครเชียงตุง และมีลูกมือจากกลุ่มช่างทิดบัวผัน เมืองนครน่านมาร่วมวาดด้วย ได้วาดขึ้นพร้อมกับการสร้างวิหารศิลปะพม่าในช่วงทศวรรษ ๒๔๔๐ วาดบนผนังไม้ทั้ง ๔ ด้านด้วยชาดกนอกนิบาตจากปัญญาสชาดกล้านนา ๒ เรื่อง คือ เจ้ารัตนแสงเมืองและเจ้าก่ำกาดำ ต่อมาวิหารศิลปะพม่าชำรุดทรุดโทรม จึงได้ทำการรื้อนำแผงไม้รูปแต้มไปตอกติดไว้ชั่วคราวภายในศาลาวัด จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๓๒ รูปแต้มวัดต้าม่อนได้ถูกผาติกรรมไปอนุรักษ์รักษาและจัดแสดงไว้ภายในหอคำน้อย อุทยานศิลปวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และในปี พ.ศ.๒๕๖๓ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ได้ก่อสร้างจำลองวิหารศิลปะพม่าและคัดลอกรูปแต้มวัดต้าม่อนจัดแสดงไว้ภายในวิหาร เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้เข้าชมทุกวัน
References
ภูเดช แสนสา(อ่าน). จารึกท้ายคัมภีร์วันนปเวสน์ พบที่วัดนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่. อักษรธรรมล้านนา, ไม่ปรากฏปีที่จาร.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑. ส่งสัญญาบัตร์ขุนนางไปพระราชทาน. วันที่ ๑๒ มีนาคม ๑๒๓, หน้า ๙๓๒.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๑. ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน. วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๗, หน้า ๒,๖๐๑.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๖. พระราชทานนามสกุล. วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๖๒, หน้า ๕๔๗.
สบ.๒.๘/๓(๒) บันทึกเรื่องป่าไม้แม่ต้าและป่าไม้เมืองลอง กับเรื่องป่าไม้แม่สลิด กระทรวงเกษตรา
ถวายมาประกอบการแต่งบันทึกเรื่องป่าไม้แม่ต้าและเมืองลอง (๑๓ ส.ค.๑๒๘ – ๑๒ มิ.ย. ๒๔๖๙)
หจช. ร.๕ ม/๔๓(๖๖) ให้นายน้อยหลง เช่าทำป่าไม้แม่ต้าฯ
หจช ร.๕ กร ๕ รล - พศ.๑๐/๖๐ นายหนานขัติยะบุตรแสนหลวงเจ้าเมืองลอง ร้องกล่าวโทษเจ้านครลำปาง
หจช.ร.๕ ผ กบค.๕-(๗-๑๑) แผนที่มณฑลพายัพแสดงแขวงป่าตัน แขวงเมืองลอง พิมพ์พ.ศ.๒๔๔๕
ชาญคณิต อาวรณ์. จิตรกรรมล้านนา พุทธประวัติ ทศชาติ ชาดกนอกนิบาต. กรุงเทพฯ : มิวเซียม เพรส, ๒๕๖๓.
ชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์ และสุชาตา โรจนาบุตร. รายงานการสำรวจเบื้องต้นโครงการศึกษาและสัมมนา เชิงวิชาการ เพื่อการวางแผนอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดเวียงต้าม่อน, พ.ศ.๒๕๖๓.
บุปผา อิทธิมณฑล. สายสัมพันธ์ทิพจักราธิวงศ์ เจ้าเจ็ดตนในตระกูล ณ ลำปาง. เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๔๗.
พิทักษ์ ปัญญาฉลาด. อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพกำนันศักดิ์สิทธิ์ ปัญญาฉลาด. แพร่ : ม.ป.พ., ๒๕๔๓.
ภูเดช แสนสา. ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์, ๒๕๕๕.
ลยาศรี หุณฑนะเสวิ. การศึกษาเชิงพิจารณ์นิทานชาดกล้านนาไทยเรื่องก่ำกาดำ. วิทยานิพนธ์สาขาจารึก ภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, พ.ศ.๒๕๒๖.
วิถี พานิชพันธ์. จิตรกรรมเวียงต้า. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ, ๒๕๓๙.
วัดต้าแป้น ต.เวียงต้า อ.ลอง. พระเจ้าแสนทอง. เอกสารแผ่นพับ.
สัมภาษณ์แม่สังวาลย์ ยอดคำ อายุ ๗๕ ปี บ้านเลขที่ ๔ หมู่ ๓ บ้านม่อน ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง
จังหวัดแพร่ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙
สัมภาษณ์นายบันดล ปัญญาฉลาด บ้านเลขที่ ๔๓/๕ หมู่ ๓ บ้านม่อน ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง
จังหวัดแพร่ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙ และวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ