การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ชุมชนเมืองสามไตในบ้านธิ จังหวัดลำพุน

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ กองศรี

คำสำคัญ:

ไตยอง, ไตลื้อ, ไตยวน, อัตลักษณ์, เมืองสามไต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนเมืองสามไตบ้านธิ จังหวัดลำพูน (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เมืองสามไตบ้านธิ จังหวัดลำพูนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือกลุ่มชาติพันธุ์ไตลื้อ ไตยอง ไตยวน จำนวน 15 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ตัวแทนชาวบ้านจากกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้ง 3 จำนวน 15 คนดังนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ไตลื้อ 5 คน ไตยอง 5 คน และไตยวน 5 คน สำหรับเครื่องมือในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้การบรรยายและพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  ผลวิจัยพบว่า อัตลักษณ์เมืองสามไตในบ้านธิ จังหวัดลำพูน นั้นมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องด้านภาษามีการพูดที่แตกต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน การเขียนเป็นภาษาล้านนา การแต่งกายเป็นการทอผ้าแบบเดียวกัน แต่ลายผ้าสีของเสื้อผ้านั้นแตกต่างกันออกไป ประเพณีทางสังคมวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน ซึ่งแต่ละไตนั้นล้วนมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นแต่งต่างกันไป แต่ยังมีอัตลักษณ์ที่มีความคล้ายคลึงอยู่บางส่วน อีกทั้งยังได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในทางการแต่งกาย ภาษา และสังคมวัฒนธรรมของ อัตลักษณ์เมืองสามไตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในด้านภาษาที่เริ่มจะพูดเป็นภาษาภาคกลางมากขึ้นและมีความคงเดิมอยู่บ้าง การแต่งกายนั้นจากเมื่อก่อนเป็นสีพื้นเริ่มมีสีสันของสีผ้ามากขึ้น มีการนำเครื่องประดับมาใส่มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนจึงทำให้เราสามารถนำมาเปรียบเทียบความแตกต่างจากอดีตสู่ปัจจุบันในแต่ละด้านว่ามีความแตกต่างจากเดิมนั้นอย่างเห็นได้ชัด

 

References

กมลทิพย์ คำใจ. (2550). การวิจัยและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่สู่ความ
ยั่งยืน. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

จตุพร ดอนโสม. (2551). การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม บ้านนาจอกตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จตุพล ทองสกล. (2553). การดำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทดำ บ้านหัวถนน ตำบลดอนพุทราอำเภอดอนมะตูม จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย.

ดวงกมล เวชวงค์. (2553). กระบวนการนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ยวนในบริบทของการท่องเที่ยวผ่านหอวัฒนธรรมพื้นบ้านและตลาดท่าน้ำ: ศึกษากรณีชุมชนยวน ตำบลต้นตาล อำเภอเสาให้ จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาวิชามานุษยวิทยา.

ผณินทรา ธีรานนท์. (2553). การเปลี่ยนแปลงของคำศัพท์และเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทลื้อ จังหวัดเชียงราย ตามกลุ่มอายุ และความสะดวกของการคมนาคม. (รายงานวิจัย).

กิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2563). สังคม. สืบค้น4 มกราคม 2564, จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/.

สิริรัตน์ สีสมบัติ. (2552). แหล่งการเรียนรู้ชุมชนกับการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางาติพันธุ์ของชาวซอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

อินทิรา พงษ์นาค และศุภกรณ์ ดิษฐ์พันธุ์. (2558). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ.

อภินันท์ ธรรมเสนา. (2553). การประกอบสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของกลุ่มคนยองในจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขามานุษยวิทยา.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-05