เพลงและการแสดงพื้นบ้านภาคกลาง : บทบาทและการนำเสนอที่เกี่ยวข้องกับมหันตภัยโควิด-๑๙
คำสำคัญ:
เพลงพื้นบ้านภาคกลาง, การแสดงพื้นบ้านภาคกลาง, โควิด-๑๙บทคัดย่อ
ภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นมหันตภัยคุกคามไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยเฉพาะการใช้นโยบาย Social distancing เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ส่งผลกระทบต่ออาชีพต่าง ๆ ซึ่งศิลปินเพลงและการแสดงพื้นบ้านก็เป็นกลุ่มหนึ่งในสังคมที่ได้รับผลกระทบนี้ทำให้ไม่สามารถจัดการแสดงตามปกติได้ อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพบว่ามีการสร้างสรรค์เพลงและการแสดงพื้นบ้านเผยแพร่ต่อสื่อ Social Media ในรูปแบบวีดิทัศน์ โดยจากการเก็บข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กเพจสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดในภาคกลาง และเฟซบุ๊กเพจ “สมาคมเพลงพื้นบ้านภาคกลางแห่งประเทศไทย” ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม – ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓ พบว่ามีผู้สร้างสรรค์เพลงและการแสดงพื้นบ้านภาคกลางจำนวน ๒๙ คลิป ประกอบด้วยเพลงพื้นบ้าน การแสดงพื้นบ้าน และเพลงประกอบการแสดง ผู้สร้างสรรค์มีทั้งศิลปิน ครู อาจารย์ นักเรียนนักศึกษา โดยบางกรณีมีผู้สนับสนุนการผลิตคือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและโรงพยาบาลท้องถิ่น เนื้อหาที่ปรากฏในการแสดงเน้นให้ความรู้ถึงที่มา ความสำคัญ อาการของโรค การป้องกันโรค ช่องทางการติดต่อหน่วยงานสาธารณสุขและนโยบายของรัฐในการรับมือโรคระบาด สร้างความตระหนักต่อปัญหาโรคระบาด รวมทั้งใช้โอกาสเทศกาลสงกรานต์ในการอวยพรผู้ฟัง และสะท้อนความเดือดร้อนของอาชีพศิลปินที่ขาดรายได้ รูปแบบการแสดงมีทั้งการแสดงเชิงสาธิต การแสดงที่ไม่เป็นทางการ การแสดงที่สื่อสารโดยประยุกต์สื่ออื่น ๆ และการบันทึกเฉพาะเสียง โดยมีการประยุกต์ปรับปรุงลักษณะการแสดงให้เข้ากับสมัย เข้าถึงง่าย ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นถึงบทบาทของเพลงพื้นบ้านที่มีต่อศิลปิน ผู้สนับสนุนการแสดง ผู้ชมผู้ฟัง และสังคม และยังแสดงให้เห็นว่าเพลงและการแสดงพื้นบ้านภาคกลางยังคงเป็นสื่อช่องทางหนึ่งที่ดำรงอยู่ในสังคมและสร้างสรรค์สังคมด้วยศิลปะอันเปี่ยมด้วยสุนทรียภาพ ด้วยความพยายามของศิลปินที่แม้จะไม่อาจมีเวทีแสดงที่เป็นกายภาพ แต่ก็ยังสามารถสร้างสรรค์งานสู่สังคมด้วยอุดมการณ์ของศิลปินอย่างแท้จริง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ