พระบฏเมืองสะบ้าย้อย: พุทธศิลป์บนผืนผ้า จากพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

ผู้แต่ง

  • ลักษณ์ บุญเรือง กรมศิลปากร

คำสำคัญ:

พระบฏ, อดีตพุทธ, รอยพระพุทธบาท, โสฬสมหาสถาน

บทคัดย่อ

การศึกษาพระบฏจากวัดคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เป็นผลจากการปฏิบัติงาน                     ด้านโบราณวัตถุ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งเป็นภารกิจหลักของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการดูแลรักษา ปกป้องสมบัติทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

          ผลจากการศึกษาทำให้ทราบว่า รูปแบบของการสร้างงานพระบฏที่วัดคูหา สามารถแบ่งออก ได้เป็น ๒ รูปแบบ และ ๒ อายุสมัย คือ รูปแบบที่ ๑ การเขียนภาพอดีตพุทธเจ้าลงบนพื้นผ้าไหม ฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยฝีมือเชิงช่างเป็นแบบงานช่างหลวงสมัยอยุธยา มีความเก่าแก่มากกว่า พระบฏแบบที่ ๒ ซึ่งเขียนงานด้วยสีพหุรงค์ลงบนผืนผ้าดิบหนา ใช้สีหลากหลาย มีการเขียนจารึกกำกับภาพ เพื่อแสดงให้ทราบว่า ช่างต้องการเขียนภาพอะไร นอกจากนี้ยังบอกวัตถุประสงค์ในการสร้างภาพ รวมทั้งผู้บริจาคทุนทรัพย์ในการสร้างงาน กำหนดอายุสมัยในช่วงรัตนโกสินทร์ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

          ด้านรูปแบบการเขียนภาพ และการใช้งานในสมัยปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมออกมาในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งไม่ปรากฏพบมากนักสำหรับการเขียนภาพ อดีตพุทธเจ้า และภาพพระพุทธบาทลงบนงานผืนผ้าอย่างพระบฏ รวมทั้งการใช้งานในปัจจุบันที่ได้จากการสัมภาษณ์ทำให้ทราบว่า เคยมีการนำมาใช้ประกอบประเพณี “วันว่าง” ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของคนในชุมชน แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ในประเทศที่ใช้ภาพพระบฏ ในประเพณี เทศมหาชาติ การสวดพระมาลัย หรือในงานบุญออกพรรษา แม้กระทั่งในภาคใต้เอง ที่นิยมใช้ในประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ โดยมีประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเป็นแม่แบบ ในการใช้งานของชุมชนนี้ก็ยังผิดแปลกออกไป แสดงให้เห็นถึงคุณค่าในเชิงศิลปกรรมและในเชิงพิธีกรรมการรับใช้สังคม               ที่แตกต่างจากชุมชนอื่นๆ จึงมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ที่สมควรได้รับการอนุรักษ์               ให้คงอยู่สืบไป

 

References

จวน คงแก้ว. (๒๕๕๘) . ศึกษาวิเคราะห์พุทธบาทลักษณะที่สัมพันธ์กับหลักพุทธธรรม . วิทยานิพนธ์ ปริญญาพุทธศาสนดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จารุณี อินเฉิดฉาย และขวัญจิต เลิศศิริ. (๒๕๔๕) . พระบฏ . กรุงเทพฯ : กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์) จำกัด. กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๔๕.

ชลดา โกพัฒตา. (๒๕๕๖) . คติความเชื่ออดีตพุทธเจ้าในสังคมไทยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ -๒๔ . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . (ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ๒๕๕๖). หน้า ๗๗ - ๑๐๓.
ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์. (๒๕๖๒) . โสฬสมหาเจดีย์กับการโหยหาอดีตอันรุ่งเรือง . วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑), ๑๐๔ - ๑๑๔.

ทิฆัมพร ตระกูลกิตติไพศาล. (๒๕๕๕) . เรื่องราวและหน้าที่ของพระบฏในสมัยรัตนโกสินทร์ . การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรมินท์ จารุวร. (๒๕๕๕) . พระบฏ : พลวัตของการใช้งานพุทธศิลป์เรื่องเวสสันดรในชุมชนหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี . กรุงเทพฯ : โครงการวิจัยและอนุรักษ์พระบฏเรื่องเวสสันดรในฐานะพุทธศิลป์พื้นบ้าน กลุ่มวิจัยพุทธศาสนาในภาษาและวรรณกรรมโลก โครงการในแผนพัฒนาวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (๒๕๒๗) . พระบฏ : จิตรกรรมไทยที่ถูกลืม . วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ธันวาคม ๒๕๒๖ - พฤษภาคม ๒๕๒๗) : หน้า ๑๓๗ - ๑๔๕.

วิราภรณ์ สุวดีปฐมพงศ์ (๒๕๕๒) . ประเด็นใหม่ : ระบบการวางลายมงคลบนรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ . การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวัฒน์ คงสวัสดิ์ (๒๕๕๒) . ลวดลายประดับผ้าทิพย์สมัยอยุธยาตอนปลาย . การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปะศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิลปากร, กรม (๒๕๑๕) . สมบัติศิลปะจากบริเวณเขื่อนภูมิพล . พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์.

ศิลปากร, กรม . (๒๕๒๗) . พระบฏและสมุดภาพไทย . กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์.

อำพล คมขำ (๒๕๔๘) . แนวคิดที่เหมือน คล้าย และแตกต่าง ของรอยพระพุทธบาทในงานจิตรกรรมฝาผนังกับงานประติมากรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย . สารนิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-05