สุขภาวะดีสมใจ สูงวัยป่าตุ้มดอน
Sound Health and Well-Being of Pa Tum Don’s Elderly
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการนำเสนอส่วนหนึ่งของผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการเชิงปฏิบัติการในชุมชน โดยผู้เขียนพยายามถ่ายทอดสถานการณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทยที่ก้าวสู่ภาวะสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งในภาวะสังคมแบบดังกล่าว เชื่อมโยงกับมิติทางสังคมในหลากแง่มุมทั้งการเตรียมพร้อม รองรับ ส่งเสริมหรือสนับสนุน สำหรับผู้เขียนเลือกนำมิติสุขภาวะ (Well-being) ในผู้สูงอายุมาเป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะในกลุ่มผู้สูงอายุบ้านป่าตุ้มดอน ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่[1] เนื่องด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประชากรทุกช่วงวัย โดยเฉพาะเมื่อก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ เพื่อให้ประชากร เป็นผู้สูงวัยอย่างมีศักยภาพ ทั้งนี้ กิจกรรมสำหรับผู้สูงวัยควรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เป็นกิจกรรมที่สามารถเริ่มได้ด้วยตนเองและร่วมสนับสนุนได้ด้วยชุมชน ซึ่งให้ความสำคัญต่อความพร้อมทางสุขภาวะของประชากรใน 3 มิติ[2] เพื่อนำไปสู่ความครอบคลุมในการสร้างเสริมสุขภาวะจะนำไปสู่ทิศทางของการสร้างความเข้าใจและการหนุนเสริมผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมิติทางสุขภาวะ (สุรเดช ลุนิทรานนท์ และคณะ, 2561)
บทความนี้จึงเป็นการนำเสนอเรื่องราวการหนุนเสริมให้เกิดสุขภาวะในผู้สูงวัยของบ้านป่าตุ้มดอน โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นล้วนมาจากความต้องการของผู้สูงอายุและจัดทำขึ้นเป็นหลักสูตรเพื่อให้เกิดการสร้างเสริม สุขภาวะผู้สูงวัยที่ประชากรสูงอายุ มีความพร้อมทางกายที่แข็งแรง ทางจิตใจที่เข้มแข็ง และทางสังคมที่มั่นคงต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมรอบตัวได้อย่างเท่าทัน และชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมตามหลักสูตรเองได้อย่างยั่งยืน
[1] ส่วนเหนึ่งของโครงการ หลักสูตรการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงวัยบ้านป่าตุ้มดอน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
[2] ประกอบด้วย มิติทางกาย (การเตรียมความพร้อมในความรู้ ทักษะ ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเบื้องต้น การป้องกันและการฟื้นฟูสุขภาพทั้งตนเองและครอบครัว) มิติทางจิต-ปัญญา (เน้นภาวะอารมณ์และจิตใจโดยมุ่งส่งเสริมให้ทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน เนื่องจากสายสัมพันธ์ทางสังคมเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่สำคัญต่อคนและชุมชน) และ มิติทางสังคม (สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและสังคม เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประจำวัน ข้อคิดเห็นร่วมกันจะสามารถพัฒนาไปสู่กระบวนการวางแผนหรือสร้างแนวทางในการพัฒนาของชุมชน ในการรับมือสู่สังคมผู้สูงวัยต่อไปได้)
References
กรมสุขภาพจิต. (ม.ป.ป.). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/intranet/p2554/แผนยุทธ_2560-2564.pdf
สุรเดช ลุนิทรานนท์ และคนอื่น ๆ. (2561). โครงการเสริมสร้างสุขภาวะคนจนเมืองเพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุพื้นที่เชียงใหม่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. หน้า 4.
สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่. (2564). เมื่อเชียงใหม่กำลังก้าวเข้าสู่....สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์. สืบค้นจาก http://chiangmai.nso.go.th
สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ. (2559). ท้องถิ่นรวมใจ ดูแลผู้สูงวัยในชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ศูนย์ข้อมูล สสส. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
Portland Community Collage. (2017). How to prepare yourself for the Increasingly aging population. Retrieved from http://climb.pcc.edu/blog/how-to-prepare-yourself-for-the-increasingly-aging-population.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ