ความสุขที่แสนอบอุ่น
HAPPINESS WITH WARMTH
คำสำคัญ:
งานทัศนศิลป์, ภาพจิตรกรรม, เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบบทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ผลงานศิลปศึกษานิพนธ์ชุด “ความสุขที่แสนอบอุ่น” ซึ่งมีที่มาจากประสบการณ์ตรง เป็นลักษณะผลงานจิตรกรรมเสมือนจริง (Realistic) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับลักษณะงานจิตรกรรมภาพคน และถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิค กรรมวิธีการสร้างสรรค์ผลงาน นำมาสู่การเผยแพร่ อนุรักษ์ และสืบสานอัตลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) ผ่านความผูกพันของแม่และลูก โดยใช้สื่อสร้างสรรค์งานจิตกรรม ตลอดถึงการเสนอผลงานจิตรกรรมออกสู่สาธารณชน
ผลการศึกษา พบว่า วิธีคิดและแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากประสบการณ์มีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างสรรค์งาน นำมาสู่การสร้างผลงานในเชิงสุนทรียศาสตร์ที่สื่อถึงความผูกพันหลอมรวมเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ และได้นำมาแสดงออกมาในงานศิลปศึกษานิพนธ์ โดยอาศัยกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ทั้งรูปแบบ ประเภทของงานทัศนศิลป์ การนำหลักทัศนธาตุ และหลักองค์ประกอบศิลป์มาเป็นสัญลักษณ์ถ่ายทอดบรรยากาศของภาพ นำมาสู่การทดลองใช้วัสดุ - อุปกรณ์ การปรับใช้ในผลงาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ และลักษณะผลงานเฉพาะตน เมื่อนำมาประเมินยังพบว่า มีคุณค่าที่แสดงออกถึง 3 ด้าน คือ การแสดงออกด้านความงาม ด้านสาระ และด้านอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเป็นรูปแบบการสร้างงานเหมือนที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ โดยยึดหลักการสร้างสรรค์ดังที่ตามองเห็น การนำทัศนธาตุต่าง ๆ มาสร้างสรรค์โดยการจัดองค์ประกอบศิลป์ แสดงรายละเอียดของผลงานให้เสมือนจริง จึงเกิดมุมมองการวิเคราะห์การแสดงคุณค่าและความหมายของการสร้างสรรค์งานศิลปะที่สะท้อนแทนอารมณ์ที่มีพื้นฐานจากชีวิตจริง โดยยึดแนวทางการส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์สืบสานในเชิงศิลปวัฒนธรรม และนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไปได้
References
โกศล พิณกุล. (2553). เทคนิคการระบายสีน้ำมันและศิลปวิจัย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
นฤมล ลภะวงศ์ อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. (2557). กระบวนการจัดการเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่ม ชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านหนองมณฑา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการการท่องเที่ยว ไทยนานาชาติ, 10(2), 46.
ฝนสั่งฟ้า พาเขียว. (2561). รายงานการวิจัย การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน ทักษะปฏิบัติของเดวีส์: การวาดภาพเหมือนจริง ที่ส่งเสริมความสามารถในการวาดภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภัทรธร ฉันทวรภาพ. (2557). โมนาลิซา (Monalisa). สืบค้นจาก http://worldcivil14.blogspot.com/ 2014/02/monalisa.html
มูลนิธิโครงการหลวง. (2555). กะเหรี่ยง (KAREN) “ปกาเกอะญอ”. สืบค้นจาก www.royalprojectthailand.com
วัชราพร อยู่ดี. (ม.ป.ป.). การแปรค่าอารมณ์สู่การสร้างสรรค์งานศิลปะ กรณีศึกษา ผลงานศิลปะชุด “ความเศร้าอันงดงาม”. สืบค้นจาก https://finearts.dpu.ac.th/ upload/content/files/showcase-journal/Beautiful-Sadness.pdf
วิไลวรรณ พิมภักดิ์. (2558). รูปภาพศิลปินร่วมสมัย (vladimir volegov). สืบค้นจาก http://aernwilaiwan. blogspot.com/
ศุภรัตน์ อินทนิเวค. (ม.ป.ป.). จิตรกรรม Painting. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2565). ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของกะเหรี่ยงกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น : ภาพสะท้อนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565. สืบค้นจาก https://db.sac.or.th/ethnicity/research/106
สมคิด สิงสง. (2552). เขียนด้วยดิน “เตือนว่าเกิดแต่ดิน เพื่อคืนสู่ดิน”. สืบค้นจาก www.oknation.net/ blog/somkhitsin/2009/11/07/entry-1
สมศิริ อรุโณทัย. (2559). การวาดเส้นสร้างสรรค์ CREATIVE DRAWING. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 128-129.
สำนักงานกระทรวงร่วมสมัย. (2556). “สามัญธรรมดากับคุณค่าอันสูงสุด” 2556 ผลงานของชัยรัตน์ แสนทอง. สืบค้นจาก www.ocac.go.th/artist-detail-179.html
สุจิน สังวาลย์มณีเนตร, อโศก ไทยจันทรารักษ์, สรรเพชร เพียรจัด ทรงเกียรติ สมญาติ, ประภาส ไชยเขตร และ ภู่กัน เจ๊กไธสง. (มีนาคม 2562). สุนทรียศาสตร์และจริยธรรมในการดำรงชีวิต. เอกสารประกอบการสอนวิชา 0001401 สุนทรียศาสตร์และจริยธรรมในการดำรงชีวิต. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
โอกามา จ่าแกะ บุญมา กุพันธ์ วิยุดา ทิพย์วิเศษ และธวชินี ลาลิน. (2562). การสืบสานประเพณีปีใหม่เพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(3), 93.
artbangkok.com. (2556). สามัญธรรมดากับคุณค่าอันสูงสุด. สืบค้นจาก http://www.artbangkok.com/?p=16053
belongtothetruth.com. (ม.ป.ป.). ความอัจฉริยะที่แท้จริงของลีโอนาโด และรหัสลับที่เขาซ่อนไว้ใน The last supper. สืบค้นจาก www.belongtothetruth.com/important/DaVinci09_6.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ