การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของผ้าทอพื้นเมือง ชุมชนบ้านเชิงดอย ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

Local Wisdom Preservation and Economic Value Addition of Local Weaving Textiles in Ban Choeng Doi Community, Sop Tia Sub-district, Chom Thong District, Chiang Mai

ผู้แต่ง

  • จีรดาภรณ์ อินดี
  • สุนิสา ล้ำลำเลียง
  • ชนะวงค์ พงษ์แปง
  • สุภาภรณ์ ตุ้ยตามพันธ์
  • สุดารัตน์ ปูไฝ
  • กชามาส แก้วกาศ

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ, ผ้าทอพื้นเมือง

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอพื้นเมืองของชุมชนบ้านเชิงดอย ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผ้าทอพื้นเมืองเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนบ้านเชิงดอย ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอพื้นเมืองของชุมชนบ้านเชิงดอย ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้ประกอบไปด้วยปราชญ์/ผู้รู้ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านเชิงดอย ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทองจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 15 คน เทคนิคการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้การบรรยายและพรรณนา ในการวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

            ผลวิจัย พบว่า การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอพื้นเมืองของชุมชนบ้านเชิงดอยมาจากบรรพบุรุษที่มีการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น ผ้าทอมีลักษณะลวดลายการทอผ้าที่มีความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ในตัวของผ้าทอพื้นเมืองเอง นอกจากนี้ยังมีการนำผ้าทอพื้นเมืองมาพัฒนา มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ และประยุกต์ลวดลายผ้าทอและถ่ายทอดการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้น่าสนใจมากขึ้นสอดคล้องกับภูมิปัญญาที่มีอยู่และเป็นอัตลักษณ์ของผ้าทอ ทั้งภูมิปัญญาด้านวัตถุดิบจากธรรมชาติ              การพัฒนาลวดลาย และการผสมผสาน          ภูมิปัญญา และความรู้สมัยใหม่ เพื่อนำผ้าทอไปสร้างมูลค่าให้กับชุมชนและเป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคหรือผู้ซื้อทุกวัย และสามารถนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะในวิธีการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา และส่งเสริมสินค้าให้มีความน่าสนใจและมีลวดลายใหม่ ๆ ตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีความเหมาะสม และมีเอกลักษณ์ของผ้าทอดั้งเดิมอยู่แต่มีความทันสมัยมากขึ้น

 

 

References

กิตติคุณ วัฒนะจูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจ-บัณฑิตย์.

กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเชิงดอย. (2561). กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเชิงดอย. สืบค้นจาก: http://cbtchiangmai.org/detail.php?id=35

การส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชาวบ้าน. (2555). สืบค้นจาก: http://kruteak.in.th.index.php.

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2534). ความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่น. สืบค้นจาก: http://nattphaong.blogspot.com

จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เชียงใหม่นิวส์. (2563). ภูมิปัญญาผ้าพื้นเมืองล้านนา มากกว่ามูลค่าคือชีวิตที่มีรากเหง้า. สืบค้นจาก: https://www.chiangmainews.co.th

ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน. (2021). สืบค้นจาก: https://www.Facebook.com/ permalink.php?id=110251193718724&story_fbid=496712041739302

ธิดารัตน์ ศิริศักดิ์พาณิชย์. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือของผู้บริโภค ตามโครงการ

หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. (2564). นวัตกรรมเพื่อชุมชน. สืบค้นจาก: https://www.rmutl. ac.th/news/15758-2021-02-24

ยุภาพร เจริญวัฒนมณีชัย. (2560). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ กรณีศึกษา: ผ้าไหมมัดหมี่ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วิสาหกิจชุมชนฝ้ายเชิงดอย. (2558). ผ้าฝ้ายเชิงดอย. สืบค้นจาก: https://www.Facebook.com/2-Phafaicherngdoi-1257860794264114/

ศิริพร ดาบเพชร และวุฒิชัย มูลศิลป์. 2556). ประวัติศาสตร์ไทย ม.4-ม.6. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

สมจิต พรหมเทพ. (2543). แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. สืบค้นจาก: http://www.udru.ac.th

สราวุธ กลิ่นสุวรรณ. (2555). กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ของไทยสู่ตลาดโลก. สืบค้นจาก: https://www.ditp.go.th/contents_attach/78008/78008.pdf.

สุจินดา เจียมศรีพงษ์ และปิยวัน เพชรหมี. (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย:กรณีศึกษา ผ้าทอล้ายโบราณ. (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Baanlaesuanweb. (2564). ทำความรู้จักกับ เส้นใยจากธรรมชาติ ก่อนจะมาเป็นผืนผ้าให้ตัดเย็บ. สืบค้นจาก: https://www.baanlaesuan.com/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022