การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม ชุมชนบ้านกองงาม ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

Development of Tie-dye Products Ban Kong Ngam Community, Mae Rang Sub-district, Pa Sang District, Lamphun

ผู้แต่ง

  • ธิดาพร โชคนทีสกุล
  • ทศพร ฟองคำ
  • สุวิชัย มาเยอะ
  • พรพิมล คันธะโฮม

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ , การออกแบบลวยดลาย, การมัดย้อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการผลิตผ้ามัดย้อมชุมชนบ้านกองงาม ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน (2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านกองงาม ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือตัวแทนประชากรในชุมชนบ้านกองงาม ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยคณะผู้วิจัยได้ศึกษาสังเกตการพูดคุยหรือสัมภาษณ์ในแต่ละครั้ง จดบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ตามความเป็นจริง และมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อมูลตามขั้นตอนการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ เอกสาร วารสาร งานวิจัย จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  โดยใช้การบรรยายและพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ผลวิจัย พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมชุมชนบ้านกองงามมีฐานการผลิตผ้ามัดย้อมมาจากชุมชนอื่น ต่อมาได้มีตัวแทนจากหมู่บ้านเข้าไปอบรมกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจะนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาชุมชน จากนั้นชุมชนจะนำความรู้ดังกล่าวมาประกอบอาชีพและมีการสร้างรูปแบบที่หลากหลายจนกลายเป็นอาชีพหลักของชุมชน ต่อยอดจนเป็นที่แพร่หลาย และกลายเป็นอาชีพที่คนในชุมชนบ้านกองงามให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผ้ามัดย้อมชุมชน           บ้านกองงามมี 4 ลวดลาย คือ ลายหินแตก ลายก้นหอย ลายคลื่น และลายแมงมุม ซึ่งรูปแบบลวดลายและสีสันจะทำให้เกิดการกระตุ้นการตลาดที่เหมาะสมต่อชุมชน และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการกระจายสินค้าไปยังกลุ่ม เป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาทำกิจกรรม และเรียนรู้วิถีชีวิตการประกอบอาชีพของชาวบ้าน            อีกทั้งสามารถนำองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับชุมชนมาถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นที่สนใจ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และอนุรักษ์วิถีชีวิตการประกอบอาชีพของชาวบ้านสู่คนรุ่นหลังสืบต่อไป

ผลวิจัยพบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมบาติกชุมชนบ้านกองงาม มีฐานการผลิตผ้ามัดย้อมบาติกมาจากชุมชนอื่น ต่อมาได้มีตัวแทนจากหมู่บ้านเข้าไปอบรมกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจะนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาพัฒนาชุมชน จากนั้นชุมชนมีการนำความรู้เหล่านี้มาประกอบอาชีพและมีการสร้างรูปแบบ ที่หลากหลายจนกลายเป็นอาชีพหลักของชุมชน และได้มีการนำความรู้มาต่อยอดจนเป็นที่แพร่หลายและกลายเป็นอาชีพที่คนในชุมชนบ้านกองงามให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ชุมชนบ้านกองงามจะมี 4 ลวดลาย คือ ลายหินแตก ลายก้นหอย ลายคลื่น และลายแมงมุม รูปแบบลวดลายและสีสันเหล่านี้เป็นการกระตุ้นการตลาดที่เหมาะสมต่อชุมชนและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการกระจายสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวช่วยให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาทำกิจกรรมได้เรียนรู้วิถีชีวิตการประกอบอาชีพของชาวบ้าน อีกทั้ง ยังสามารถนำองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับชุมชนเหล่านี้มาถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่นที่สนใจ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และอนุรักษ์วิถีชีวิตการประกอบอาชีพของชาวบ้านสู่คนรุ่นหลังสืบต่อไป

 

References

ฐปนัท แก้วปาน, สราวุธ อิศรานุวัฒน และจริยา แผลงนอก. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 22(2), 161-182.

ณิชกานต์ ทับประโคน และอาทิตยา ใคร่นุ่น. (2556). การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติจากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น. สืบค้นจาก: http://www.dspace.bru.ac.th

เทศบาลตำบลแม่แรง. (2561). ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป. สืบค้นจาก: http://www.maerang.go.th

ภัทรานิษฐ์ สิทธินพพันธ์. (2559). การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ย้อมสีธรรมชาติโดยการจัดชุดสีผ้าทอมือและพัฒนาลวดลายผ้ามัดย้อม. สืบค้นจาก: https://kaewpanya.rmutl.ac.th

รจนา จันทราสา, กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์ และภานุ พัฒนปณิธิพงศ์. (2553). การศึกษาและพัฒนาเอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียงเพื่อประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติก เพื่อพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึก จังหวัดอุดรธานี. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2538). นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

อัจฉรี จันทมูล. (2561). การออกแบบลวดลายผ้ามัดย้อมลายดอกติ้ว. สืบค้นจาก http://research.msu.ac.th

อาทิตยา ใคร่นุ่น และณิชกานต์ ทับประโคน. (2556). การออกแบบลวดลายเสื้อมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติจากแก่นฝาง ใบเพกา ใบแก้ว และขมิ้น. สืบค้นจาก http://dspace.bru.ac.th/ xmlui/handle/ 123456789/7019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022